Topic

Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (ตอนที่ 4)

 

Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (ตอนที่ 4)

ข้อเท็จจริงบางอย่างเกี่ยวกับผลลัพธ์ของระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน (Linear economy)

  • ประมาณ 1 ใน 3 ของอาหารที่มนุษย์ใช้บริโภคนั้นถูกทิ้ง ทำให้เสียและกลายเป็นขยะ
  • ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา มนุษย์บริโภคเกินกว่าความสามารถในเชิง Biocapacity เกิดการดึงทรัพยากรมาใช้มากเกินไปและวร้างขยะให้เกิดขึ้นในโลกอย่างมหาศาล
  • ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา โลกมีการผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แต่เราสวมใส่จริงแค่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของเสื้อผ้าที่มี
  • ตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจขาลงในช่วงปี 2007-2009 ราคาวัตถุดิบกลับมีระดับสูงขึ้นเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของโลก
  • มากกว่า80% ของประชากรโลกดำรงชีวิตอยู่ในประเทศที่กำลังเกิดสถานะขาดดุลทางด้านสิ่งแวดล้อม (Ecological deficit)
  • ในแต่ละปี โลกใช้ทรัพยากรวัตถุดิบจำนวนไม่ต่ำกว่า 100 พันล้านตัน  ซึ่ง 60% ของปริมาณวัตถุดิบทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือก่อให้เกิดปัญหาขยะ
  • โลกผลิตพลาสติกปีหนึ่งๆประมาณ 300 ล้านตัน แต่มีเพียง 12% เท่านั้นที่ถูกนำไป Reuse, recycle

การขับเคลื่อนออกจาก Linear economy ไปสู่ Circular economy (CE) มีความลึกซึ้งเกินกว่าการ Recycle หรือการ Reuse วัสดุต่างๆเท่านั้น แต่จะต้องเป็นการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์นั้นให้ครบรอบด้าน และหาทางปรับปรุงให้ดีขึ้นตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงสุดท้ายในห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้น

ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการเกิด CE ได้แก่

  • วัฒนธรรม (Culture) เช่นผู้คนในสังคมขาดความตระหนัก ขาดความเต็มใจที่จะร่วมมือลงมือปฏิบัติร่วมกันในเรื่อง CE 
  • นโยบายและกฏระเบียบ (Regulatory) ภาครัฐอาจไม่สนใจที่จะออกนโยบาย กฏหมาย กฏระเบียบที่เกี่ยงข้องมาบังคับใช้หรือสนับสนุนให้เกิด CE ขึ้น   
  • การทำให้เกิดความแพร่หลาย (Market) คือขาดตัวอย่างที่เป็นRole models ในภาคธุรกิจ ทำให้มองไม่เห็นBusiness model ว่าการทำธุรกิจภายใต้เงื่อนไขCE โดยประสลความสำเร็จนั้นเป็นอย่างไร
  • เทคโนโลยี (Technology) อุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือการขาดความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงานเกี่ยวกับ CE

การวัดผลลัพธ์ของ CE ก็เป็นประเด็นที่ถกเถียงกัน เพราะมีความคาดหวังว่า CE จะช่วยลดปัญหาต่างๆด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆลงได้  หากสามารถทราบผลก็สามารถกำหนดเป้าหมายในลักษณะ Ambitious goals ได้ ตัวอย่างเช่น

European Union กำหนดเป้าหมาย เช่น

  • ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้น 30% ภายในปี 2030
  • EU GDP เพิ่มขึ้นอีก 0.5% ภายในปี 2030
  • บรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมดในตลาดจะมาจากการ Recycle ภายในปี 2030
  • ขยะในเมือง (Municipal waste)ที่จะนำไป Landfill จะลดลง 10% ภายในปี 2035
  • Climate neutrality จะเกิดขึ้นภายในปี 2050


United States กำหนดเป้าหมายจาก CE เช่น

  • การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
  • สร้างงานไม่ต่ำกว่า 100,000 ตำแหน่ง
  • การป้องกันการเกิดหรือดูแลขยะ 100 ล้านตัน
  • การฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ

ภาพเกี่ยวกับCE system อาจแสดงได้ตามรูปต่อไปนี้ ซึ่งจากรูปอธิบายว่า ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเดิม หรือ Linear economy การนำวัตถุดิบมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สร้างให้เกิดทั้งขยะ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และบรรดาขยะเหล่านั้นเมื่อกำจัดไม่ได้หมดก็นำออกสู่พื้นที่สาธารณะ (Landfill) แต่ใน CE จะมีกลไกย้อนกลับเพื่อจะยืดเวลาการใช้งาน หรือนำกลับมาใช้ใหม่ในส่วนของวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ขยะ  แม้ว่าการทำเช่นนั้นจะมีบางส่วนที่ก่อให่เกิดก๊าซเรือนกระจก แต่เมื่อเปรียบเทียบกับหระบวนการใช้วัตถุดิบใหม่สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ วิธีการจองCE น่าจะประหยัด เกิดประโยชน์ และลดผลกระทบมากกว่า

ที่มา : Circular Economy: What is it + how does it works?, rts.com

บทความโดย
รศ.(พิเศษ)ดร.กฤษฎา เสกตระกูล
ที่ปรึกษา
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย