Sustainability Index

Sustainability Index

บริษัทจดทะเบียนไทยในดัชนีชี้วัดความยั่งยืนระดับสากล

ดัชนีชี้วัดความยั่งยืนเป็นดัชนีที่แสดงความเคลื่อนไหวราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ใช้เกณฑ์ผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการอย่างมีบรรษัทภิบาล หรือ Environmental, Social and Governance (ESG) เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาประเมินและคัดกรองบริษัทควบคู่ไปกับเกณฑ์พิจารณาการจัดทำดัชนีอื่นๆ ตามที่ผู้จัดทำแต่ละดัชนีชี้วัดจะกำหนดไว้

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมุ่งพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนให้เข้าสู่การเป็นสมาชิกของดัชนีชี้วัดความยั่งยืน หรือ Sustainability Index ในระดับสากล เพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือที่สะท้อนจากผลดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัทให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งปัจจุบันมีผู้จัดทำดัชนีชี้วัดความยั่งยืน (Index Provider) ชั้นนำที่ได้รับความนิยมและยอมรับจากผู้ลงทุนสถาบันทั่วโลกนำมาใช้เป็นข้อมูลในการลงทุน 3 แห่ง ได้แก่ S&P Dow Jones, MSCI และ FTSE Russell

เกณฑ์การคัดเลือก

เกณฑ์การคัดเลือก

โดยทั่วไปการคัดเลือกบริษัทมี 2 แนวทางหลักคือการคัดออกและการคัดเข้า

  1. Exclusionary Screening/Negative Screening คือ การกำหนดเกณฑ์คัดบริษัทออก โดยพิจารณาจากบริษัทที่ผลิตสินค้าและบริการที่ไม่เหมาะสม เช่น ผลิตสุรา บุหรี่ เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอลล์ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับคาสิโน บริษัทที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนอาวุธนิวเคลียร์หรือผลิตอาวุธ เป็นต้น
  2. ESG Rating/Positive Screening คือ การกำหนดตัวกรองเพื่อคัดบริษัทที่เข้าข่ายการนำไปพิจารณาต่อ ซึ่งจะเป็นการนำเกณฑ์ประเมินผลการดำเนินงานด้าน ESG มาใช้เป็นสำคัญ
วิธีการเก็บข้อมูล ESG ของบริษัท

วิธีการเก็บข้อมูล ESG ของบริษัท

ผู้จัดทำดัชนีแต่ละแห่งใช้วิธีการเก็บข้อมูลของบริษัทที่เปิดเผยไว้ในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น รายงานประจำปี รายงานความยั่งยืน เว็บไซต์ของบริษัท เป็นต้น และมีผู้จัดทำดัชนีบางรายเก็บข้อมูลเพิ่มเติมโดยการให้บริษัทตอบแบบสอบถาม (Questionnaire)

ตัวอย่างดัชนีวัดความยั่งยืนระดับสากล

ผู้จัดทำดัชนี S&P Dow Jones MSCI FTSE Russell
ชื่อดัชนี Dow Jones Sustainability
Indices (DJSI)
MSCI ESG Index FTSE4Good Index
ดัชนีที่บริษัทไทย
เป็นสมาชิก
DJSI World
DJSI Emerging Markets
MSCI AC ASEAN ESG Leaders
MSCI AC ASEAN ESG Universal
FTSE4Good ASEAN 5 Index
FTSE4Good Emerging Indexes
วิธีการประเมิน RobecoSAM หรือ SAM เป็นผู้ทำ
การประเมินโดยเชิญบริษัทกว่า
2,500 แห่งทั่วโลกที่มีมูลค่าตาม
ราคาตลาดมากกว่า 500 ล้าน
เหรียญสหรัฐ และมี Free Float
ตามเกณฑ์ โดยเข้าร่วมตอบ
Corporate Sustainability
Assessment (CSA) และทำ Media
Stakeholder Analysis (MSA)
MSCI ESG Research รวบรวม
ข้อมูลบริษัทภายใต้ดัชนี MSCI
Investable Market Indexes (IMI)
จากแหล่งต่างๆ เช่น เอกสารเผยแพร่
บริษัท เอกสารหน่วยงานรัฐ งานวิจัย
จากสถาบันการศึกษาที่เผยแพร่
ข่าวจากสื่อต่างประเทศและท้องถิ่น
รายงานและบทสัมภาษณ์กลุ่ม NGO
แล้วส่งให้บริษัทให้ความเห็น
FTSE Russell รวบรวมข้อมูล
ผลการดำเนินงาน ESG ของ
บริษัทใน FTSE Index และไม่เป็น
บริษัทที่ผลิตสินค้าประเภทยาสูบ
อาวุธหรือส่วนประกอบอาวุธและ
ถ่านหิน จากรายงานประจำปี
เว็บไซต์บริษัท และข้อมูลที่เผยแพร่อื่นๆ
เกณฑ์ประเมิน กำหนดตัวชี้วัดทั่วไปสำหรับประเมิน
ทุกอุตสาหกรรม และตัวชี้วัดสำหรับ
ประเมินเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม
แบ่งเป็น 60 กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น
เศรษฐกิจ: จรรยาบรรณธุรกิจ
การต่อต้านการทุจริต การจัดการ
ความเสี่ยงและภาวะวิกฤตินวัตกรรม
สิ่งแวดล้อม: นโยบายและระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การรายงานด้านสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
สังคม: การรายงานผลกระทบ
ทางสังคม การพัฒนาแรงงาน
การจูงใจและรักษาบุคคลที่มีความ
สามารถ การเป็นพลเมืองดีของ
องค์กร นโยบายด้านการกุศล
การปฏิบัติต่อแรงงาน การเชื่อมโยง
ผู้มีส่วนได้เสีย มาตรฐานสำหรับคู่ค้า
พิจารณาผลกระทบ (Impact) และ
ความเสี่ยง (Risk) ของแต่ละ
อุตสาหกรรม โดยใช้ตัวชี้วัด เช่น
บรรษัทภิบาล: โครงสร้างและ
บทบาทคณะกรรมการ
จรรยาบรรณธุรกิจ การต่อต้าน
พฤติกรรมการกีดกันทางการแข่งขัน
ความโปร่งใสเกี่ยวกับภาษี
สิ่งแวดล้อม: การเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ การจัดการทุน
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural
Capital) การบริหารจัดการมลพิษ
และของเสีย
สังคม: การบริหารจัดการ
ทรัพยากรบุคคล ความปลอดภัย
และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ความ
ปลอดภัยของข้อมูล การลงทุนอย่าง
รับผิดชอบ
กำหนดตัวชี้วัดทั่วไป และตัวชี้วัด
เฉพาะตามประเภทกลุ่มอุตสาหกรรม
เช่น บรรษัทภิบาล: การต่อต้านการ
ทุจริต ความโปร่งใสเกี่ยวกับภาษี
การบริหารความเสี่ยง
หลักบรรษัทภิบาล
สิ่งแวดล้อม: การเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ การใช้น้ำ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
การจัดการมลพิษและการใช้ทรัพยากร
สังคม: ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
สิทธิมนุษยชนและชุมชน มาตรฐาน
ด้านแรงงาน สุขภาวะและความปลอดภัย

ทั้งนี้ สำหรับการเตรียมความพร้อมบริษัทจดทะเบียนเข้าสู่ Sustainability Index นั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้สนับสนุนบริษัทจดทะเบียนเข้าสู่ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555 ผ่านกิจกรรมและโครงการต่างๆ เช่น กิจกรรมเตรียมความพร้อมผ่านหลักสูตรอบรม DJSI Exclusive Coaching และ DJSI Corporate Sustainability Assessment (CSA) Coaching ฯลฯ

ข้อมูลน่าสนใจของดัชนีความยั่งยืนสากล