FTSE Russell ESG Scores

สัมนา ก้าวต่อไปของ SET ESG Ratings สัมนา ก้าวต่อไปของ SET ESG Ratings

FTSE Russell ESG Scores

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ FTSE Russell ผู้ประเมิน ESG ระดับโลกยกระดับการประเมินความยั่งยืนสู่มาตรฐานสากล

Appendix

FTSE Russell ESG Scores คือ ผลคะแนนจากการประเมินการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ของบริษัท ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของคะแนน (ตัวเลข) ตั้งแต่ 0.0-5.0 โดยคะแนน 0.0 หมายถึงไม่มีข้อมูลให้ประเมิน และคะแนน 5.0 หมายถึงเป็น Best practices

โดยจะเตรียมความพร้อมบริษัทจดทะเบียนและเริ่มโครงการประเมินนำร่องในปี 2567-2568 ก่อนการประเมินและประกาศผลคะแนน ESG สู่สาธารณะตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป

ประโยชน์ของ
FTSE Russell ESG Scores

ประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียนไทย

  1. Transparency & Less burden: FTSE Russell จะประเมินบริษัทจดทะเบียนไทยจากข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยสู่สาธารณะอยู่แล้ว (Public disclosures) ทำให้ข้อมูลที่นำมาใช้ในการประเมินมีความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ยังช่วยลดภาระให้แก่บริษัทเนื่องจากไม่ต้องตอบแบบประเมิน
  2. Enhanced visibility: FTSE Russell เป็น Global rater ที่ได้รับการยอมรับจากนักลงทุนสถาบันทั่วโลก ความร่วมมือกับ FTSE Russell จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้ตลาดทุนไทย ทำให้หุ้นไทยมีความน่าสนใจในสายตานักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
  3. Global benchmarking: FTSE Russell ใช้แนวทางการประเมินนี้กับบริษัท 8,000 แห่งใน 47 ประเทศทั่วโลก ทำให้บริษัทจดทะเบียนไทยมี Framework การพัฒนางานด้าน ESG ตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ผลการประเมินโดย FTSE Russell ยังสามารถนำไปใช้เทียบเคียงกับ Global peers ได้อีกด้วย
  4. Alignment with global standards: FTSE Russell มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ Code of Conduct สากล โดย FTSE Russell ESG Ratings Model ถูกกำกับดูแลโดย Independent External Committee ซึ่งประกอบด้วยภาคธุรกิจ นักลงทุน NGOs และนักวิชาการ เป็นต้น แนวทางและวิธีการประเมินจึงสะท้อนมุมมองของผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลาย

ประโยชน์ต่อนักลงทุน

  1. Alignment with global standards: วันนี้มีข้อมูล ESG มากขึ้นและขณะเดียวกันก็มีมาตรฐานการรายงานข้อมูลความยั่งยืนมากมาย อย่างไรก็ดี ไม่ใช่นักลงทุนทุกกลุ่มที่มีความพร้อม หรือมีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูลดิบด้าน ESG ดังนั้น การประเมิน ESG โดย Global rater ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจึงเข้ามาเป็นตัวช่วยในการประเมินผลการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัท ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์การลงทุนและเทรนด์การลงทุนอย่างยั่งยืน
  2. Global benchmarking: เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเปรียบเทียบการดำเนินงานด้าน ESG ของแต่ละบริษัท โดยผลคะแนนสามารถนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทชั้นนำระดับโลกได้