Sustainable Supply Chain

Sustainable Supply Chain

สินค้าและบริการกว่าจะส่งมอบไปสู่มือของผู้บริโภคนั้น
มีกระบวนการจัดการที่เกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่การจัดซื้อ (Procurement)
การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage)
การขนส่ง (Transportation) และการจัดจำหน่าย (Distribution)
รวมเรียกว่า ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

ที่ผ่านมา ธุรกิจการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานมีลักษณะไม่ซับซ้อน ประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน ไม่มาก บริษัทส่วนใหญ่จึงเน้นพัฒนาประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ เช่น การพัฒนาคุณภาพเชิงเทคนิค การลดต้นทุน และเพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้า เป็นต้น แต่ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลากหลายขึ้น การดำเนินกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานเปลี่ยนเป็นรูปแบบเครือข่าย (Network) โดยมีความต้องการของ "ลูกค้า" เป็นแรงผลักดันสำคัญและส่งผลต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ เพิ่มขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็น ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายและผู้ขนส่ง ต้องร่วมมือกันเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ในขณะเดียวกัน ผู้มีส่วนได้เสียอื่น อาทิ ผู้บริโภค ผู้ลงทุน พนักงาน และสังคม ต่างได้ให้ความสำคัญและเรียกร้องให้ธุรกิจบริหารจัดการประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง ตลอดจนต้องการให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทานมากขึ้น

Environmental, Social and Governance

ดังนั้น ในปัจจุบันองค์กรต่างๆ จึงได้นำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่คำนึงถึงประเด็นด้านสังคม
สิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance หรือ ESG)
เข้ามาบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ หรือที่เรียกว่า
“การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน” (Sustainable Supply Chain) ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสลดความเสี่ยงและเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอีกด้วย

ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และ ห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน (Sustainable Supply Chain)

ห่วงโซ่อุปทาน
ห่วงโซ่อุปทาน
คือ เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและคู่ค้าของบริษัทในการผลิตและส่งมอบสินค้า ที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนของการได้มาซึ่งสินค้าตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า
ห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
ห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
คือ การจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้าและบริการ

กรอบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนตามแนวทางของ UN Global Compact

UN Global Compact ได้แนะนำ กรอบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้

UN Global Compact
  1. แสดงความมุ่งมั่น (Commit)
  • กำหนดวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
  • จัดทำแนวปฏิบัติหรือจรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจของคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) ที่ครอบคลุมประเด็นสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการสนับสนุนให้คู่ค้ามีการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรมและรับผิดชอบต่อสังคม
  1. ประเมินขอบเขต (Assess)
  • ศึกษากิจกรรมต่างๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทานและประเมินขอบเขตในการดำเนินโครงการเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานว่าควรครอบคลุมคู่ค้าในกลุ่มใดบ้าง เช่น คู่ค้ารายสำคัญ (Key suppliers) คู่ค้าเชิงกลยุทธ์ (Strategic suppliers) เป็นต้น
  1. กำหนดกลุ่มคู่ค้า (Define)
  • ระบุว่าคู่ค้ารายใดเป็นคู่ค้ารายสำคัญของบริษัท โดยกำหนดเกณฑ์ในการจัดกลุ่มคู่ค้าอย่างชัดเจน เช่น วิเคราะห์จากมูลค่าการค้าที่มีระหว่างกัน ประเภทสินค้า/บริการที่ติดต่อซื้อขาย เป็นต้น
  1. ลงมือปฏิบัติ (Implement)
  • กำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานภายในองค์กร ครอบคลุมตั้งแต่ระดับกรรมการบริษัทไปจนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ ฝ่ายคลังสินค้า และฝ่ายจัดส่งสินค้า เป็นต้น
  • จัดให้มีกระบวนการ/ขั้นตอน/วิธีการ/แนวปฏิบัติ เพื่อระบุความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจ (เช่น ความเสี่ยงจากการพึ่งพาคู่ค้าน้อยราย ความเสี่ยงจากการได้รับสินค้า/บริการ ที่ไม่ได้คุณภาพ) สังคม (เช่น สิทธิมนุษยชน การดูแลพนักงานและแรงงาน) และสิ่งแวดล้อม (เช่น การปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบ มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม) ที่เกิดจากคู่ค้าของบริษัท
  • สร้างการมีส่วนร่วมกับคู่ค้า เพื่อสื่อสารความคาดหวังและความตั้งใจของบริษัทในการ บริหารจัดการความยั่งยืน ตลอดจนหาแนวทางเพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถใน การแข่งขันและสร้างพลังความร่วมมือในห่วงโซ่อุปทาน
  1. วัดผลและติดตาม (Measure)
  • ติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจของคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) เช่น การตรวจประเมินตนเองของคู่ค้า (Self-assessment) การตรวจประเมินโดยองค์กรอิสระภายนอก (Third-party audit) หรือการตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการของคู่ค้า (Site visit) เป็นต้น
  • มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม เพื่อช่วยพัฒนาการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของคู่ค้าให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับบริษัท
  1. เปิดเผยข้อมูล (Communicate)
  • เปิดเผยแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานครอบคลุมตั้งแต่กลยุทธ์การประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า การบริหารจัดการคู่ค้า การตรวจสอบประเมินคู่ค้า รวมถึงกิจกรรมพัฒนาคู่ค้าทั้งในเชิงพาณิชย์และความยั่งยืน

ประโยชน์ที่ได้จากการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

ลดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะหยุดชะงัก

ลดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะ
หยุดชะงักเนื่องจากผลกระทบ
ด้านเศรษฐกิจ สังคม
และสิ่งแวดล้อม

ลดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะหยุดชะงัก

ปกป้องชื่อเสียงบริษัทและสร้าง Brand Value

ลดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะหยุดชะงัก

ลดต้นทุนในกระบวนการดำเนินธุรกิจ

ลดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะหยุดชะงัก

พัฒนาผลิตภาพแรงงาน

ลดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะหยุดชะงัก

สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
สอดรับกับตลาด
ที่เปลี่ยนแปลงไป