S01-S04: ชุดหลักสูตรกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของธุรกิจ (Corporate Sustainability Strategy)
รายละเอียดหลักสูตร
INVITATION ONLY
S01-S04 ชุดหลักสูตรกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของธุรกิจในปี 2565 เป็นหลักสูตรแบบ Workshop ที่จัดการเรียนการสอนเป็นแบบต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับพื้นฐานทำความเข้าใจบริบทองค์กรของตนเอง การรู้จักและเข้าใจถึงห่วงโซ่คุณค่าเพื่อค้นหาประเด็นสำคัญสำคัญด้านความยั่งยืน สำหรับนำไปพัฒนาเป็นกลยุทธ์ธุรกิจที่สอดประสานกับการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจในองค์รวม ตลอดจนการประเมินผลลัพธ์ตามกลยุทธ์ดังกล่าว
สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับหลักสูตรอบรมแบบ Workshop ของตลาดหลักทรัพย์ฯ นี่คือชุดหลักสูตรที่รวมเอา S01 ถึง S04 ไว้ด้วยกัน
ปีนี้การอบรมจัดรวม 5 รุ่นๆ ละ 12 บริษัท (ไม่จำกัดจำนวนผู้เรียนของแต่ละบริษัท) โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงดังนี้
- ช่วงที่ 1 เรียนเนื้อหาและทำ workshop แบบต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2 วัน ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ รวม 6 วัน
- เนื้อหา S01 👉เรียน 2 วัน
- เนื้อหา S02&S04 👉เรียน 2 วัน
- เนื้อหา S03 👉เรียน 2 วัน
- ช่วงที่ 2 นำเสนอผลงานรายบริษัท (presentation) ที่ได้จากช่วงที่ 1 รวม 1 วัน โดยวิทยากรจะให้ความเห็น ช่วยปรับเนื้อหา เพื่อให้แต่ละบริษัทสามารถนำกลับไปต่อยอดและประยุกต์ใช้ได้มากที่สุด
- รวมเวลาเรียนของหลักสูตร 7 วัน
การรับสมัคร
- รับสมัครเป็นรายบริษัท
- หลังจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ยืนยันการสมัครแล้ว บริษัทจดทะเบียนสามารถพิจารณาให้พนักงานเข้าร่วมอบรมได้ตามความเหมาะสม โดยไม่จำกัดจำนวน
- โปรดอ่าน📢เงื่อนไขการอบรมตามด้านล่างให้ครบถ้วนก่อนการสมัคร
- สนใจเข้าร่วมอบรม โปรดแจ้งความประสงค์ที่ อีเมล SRCenter@set.or.th พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ของท่าน เพื่อตลาดหลักทรัพย์ฯ จะติดต่อกลับต่อไป
สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้
ท่านจะได้ฝึกสร้างทักษะการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย และกรอบการบริหารจัดการความยั่งยืนของธุรกิจ พร้อมทั้งการระบุผู้มีส่วนได้เสียและประเด็นความยั่งยืนจากห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับบริบทองค์กร เพื่อนำมาจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติด้านความยั่งยืนของธุรกิจ รวมถึงสามารถประเมินผลกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนได้ นอกจากนี้คาดว่าผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ที่สามารถนำไปต่อยอดกับการทำงานได้ในเรื่องต่อไป
การบูรณาการ (Integration) : ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถนำแนวคิด หลักการ ความรู้และทักษะที่ได้รับจากการอบรม ไปผนวกประเด็นความยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจและการกำกับดูแล ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการนำหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติและมาตรฐานที่หลากหลายเข้าไปสู่การปฏิบัติในกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีความสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางอุตสาหกรรม (Industrial Characteristics) และบริบททางธุรกิจ (Business Context) ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
การสร้างการเปลี่ยนแปลง (Transformation) : ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถนำแนวคิด หลักการ ความรู้และทักษะที่ได้รับจากการอบรม ไปเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารจัดการความยั่งยืนภายในองค์กรทั้งการกำหนด High Purpose การออกแบบห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ที่ตอบสนองต่อ High Purpose การวิเคราะห์และเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) การวิเคราะห์ประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีสาระสำคัญ (Material Topics) การกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน (Sustainability Strategy) ในการขับเคลื่อนไปสู่ High Purpose ของบริษัท การจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (ESG-Related Risks) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในองค์กรเพื่อสร้างวัฒนธรรมด้านความยั่งยืน (Sustainability Culture)
การสื่อสาร (Communication) : ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถนำแนวคิด หลักการ ความรู้และทักษะที่ได้รับจากการอบรม ไปสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาความยั่งยืน ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการการพัฒนาความยั่งยืน และสามารถโน้มน้าวให้บุคลากรอื่นๆ ในบริษัทเกิดความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการนำเป้าหมายและกลยุทธ์การพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทไปปฏิบัติ
การพัฒนา (Development) : ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถนำแนวคิด หลักการ ความรู้และทักษะที่ได้รับจากการอบรม โดยเฉพาะเครื่องมือ (Tools) ต่างๆ ที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติ (Workshop) ไปพัฒนากระบวนการ แนวปฏิบัติ ในการดำเนินงานประจำวัน (Day-to-day work) อย่างต่อเนื่อง ให้มีลักษณะของการผสมผสานแนวคิดของความรับผิดชอบ (Responsibility) และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง (Adaption to change) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร
รายละเอียดหลักสูตรย่อย
1) การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของธุรกิจ (Sustainability Commitment) [S01]
- ประเมิน/สำรวจพันธกิจขององค์กร ลักษณะและความต้องการของลูกค้า และการบ่งชี้ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์กร
- วิเคราะห์ผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ ผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กร ที่มีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสีย
- วิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอก ที่ส่งผลต่อการส่งมอบคุณค่าแก่ลูกค้าและสังคม
- กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Commitment) ในรูปแบบการนำเสนอคุณค่าต่อสังคม (Value Proposition) ที่สอดคล้องกับบริบทขององค์กร
2) การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าและประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Value Chain and Materiality Analysis) [S02 & S04]
- วิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า และพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืน
- บ่งชี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และวิเคราะห์ประเด็นความยั่งยืน อย่างครอบคลุมผลกระทบและความคาดหวังทั้งต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย
- จัดหมวดหมู่ประเด็นด้านความยั่งยืน เพื่อออกแบบกรอบการดำเนินงานที่ยั่งยืน (Sustainability Framework) โดยเลือกใช้หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เหมาะสม (เช่น Triple Bottom Line, Corporate Citizenship, Creating Shared Value, The Natural Step)
- ค้นหาประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Materiality) สำหรับขับเคลื่อนธุรกิจ และสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย
3) การกำหนดกลยุทธ์และวิธีการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร (Sustainability Strategy and Initiative) [S03]
- วิเคราะห์ความแตกต่าง/ความเกี่ยวเนื่องระหว่างกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) และกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน (Sustainability Strategy)
- การตรวจสอบประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ (Strategic Priorities)
- การกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน การกำหนดกิจกรรมและโครงการด้านความยั่งยืนที่มีเป้าหมายหรือระยะเวลาดำเนินการที่ชัดเจน ในการตอบสนองต่อประเด็นสำคัญในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
- การเลือกเปิดเผยข้อมูลกลยุทธ์และประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
ระยะเวลา : Workshop 6 วัน และนำเสนอ (Presentation) กลยุทธ์ความยั่งยืนของบริษัท 1 วัน รวม 7 วัน
* ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลักสูตร
หรือรายละเอียดการอบรม ตามความเหมาะสม
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ต้องการพัฒนาทีมงาน เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนของธุรกิจ ผ่านการฝึกปฏิบัติค้นหาคุณค่าและเป้าหมายขององค์กร การคัดเลือกประเด็นสำคัญที่จะนำไปกำหนดกรอบการดำเนินงานและกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานที่ครอบคลุมมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental Social Governance: ESG) นอกจากนี้ ยังเหมาะกับบริษัทจดทะเบียนที่มีเป้าหมายต้องการยกระดับองค์กรเข้าสู่รายชื่อหุ้นยั่งยืน (THSI) ซึ่งจะทำให้บริษัทเป็นที่สนใจจากผู้ลงทุน
ระดับเนื้อหา
เชิงปฏิบัติการ โดยเน้นผลลัพธ์ที่บริษัทจดทะเบียนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นกลยุทธ์ความยั่งยืนของบริษัทได้อย่างเป็นรูปธรรม
ค่าใช้จ่าย
200,000 บาทต่อบริษัท โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนตามเงื่อนไขที่กำหนด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
SET Contact Center
โทรศัพท์ 0-2009-9999
อีเมล SETContactCenter@set.or.th
ฝ่ายส่งเสริมความรู้ด้านความยั่งยืน
โทรศัพท์ 0-2009-9893, 0-2009-9886
หรืออีเมล SustainableEducation&PromotionDepartment@set.or.th