Topic

Social Return on Investment (SROI) ตอนที่ 1

ปัจจุบันการทำกิจกรรมดี ๆ ต่อสังคมเพื่อมุ่งหวังจะเห็นสังคมที่ดีขึ้น ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมซึ่งเป็นที่มาของปัญหาอื่น ๆ ในสังคมตามมา อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะสามารถอธิบายได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างจากกิจกรรมเหล่านั้นที่มีต่อสังคมวงใกล้และวงไกลก็ตาม แต่หากจะประมวลผลลัพธ์ในเชิงปริมาณที่คำนึงถึงผลประโยชน์ (Benefits) และต้นทุน (Costs) และสุทธิเป็นผลตอบแทน (Returns) ก็จะเห็นขนาดของผลได้สุทธิที่จับต้องได้มากขึ้น และยิ่งหากนำมาคำนวณโดยนำผลตอบแทนนั้นหารด้วยเงินที่ใช้ลงทุนไปจะได้อัตราส่วนที่เรียกว่า Social Return on Investment (SROI) ที่ค่ายิ่งเป็นบวกและสูงเท่าใดก็จะสะท้อนถึงความคุ้มค่าขอการลงทุนจากผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นมากเท่านั้น อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติการจะเก็บตัวเลขของ Social Benefits, Social Costs, Social Investments อย่างประณีตก็ไม่ใช่เรื่องง่าย บทความชุดนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสืบค้นและสรุปเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ SROI เพื่อเป็นความรู้และอาจเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

ความหมายของ SROI

จากข้อมูลของ Wikipedia สรุปไว้ว่า SROI คือ วิธีการพื้นฐานในการวัด Extra-Financial Value ในกรณีที่คำนึงถึงกิจกรรมที่ทำให้ส่งผลกระทบทางบวกหรือลบต่อสิ่งแวดล้อมและ / หรือสังคม ซึ่งการคิด SROI นี้ถือว่าเป็นส่วนต่อขยายจากการคิดอัตราส่วนผลตอบแทนทางการเงินจากการลงทุน (Return on Financial Investment: ROI) จาก Conventional Financial Accounts ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบทางสังคม (Social Impacts)

SROI ช่วยให้องค์กรวัดผลกระทบที่มีต่อ Stakeholders ทั้งใกล้และไกลขององค์กรด้วยค่าของ SROI ชี้ให้เห็นว่าบริษัทมีผลการดำเนินงานทั้งในมิติ Financial และ Non-Financial ดีเพียงใดต้องปรับปรุงอะไรหรือไม่ อย่างไร

ความตื่นตัวในการทำงานเรื่อง Social Impacts ที่ผ่านมาของสหราชอาณาจักรทำให้เกิดการพัฒนาเรื่อง SROI Method ได้ก้าวหน้ามากขึ้นเพื่อวัดผลทั้งในรูปแบบ โครงการ องค์กร เป็นต้น มีการรวมตัวของผู้สนใจเรื่องนี้ขึ้นเป็น SROI Network ขึ้นตั้งแต่ปี 2008 เพื่อพัฒนาในเชิงกว้างและเชิงลึกเกี่ยวกับ SROI

พัฒนาการของ SROI

รากฐานของ SROI เกิดขึ้นจากการต่อยอดองค์ความรู้ด้าน Cost-Benefit Analysis ซึ่งอาจต้องมีการคำนวณผลประโยชน์ และต้นทุนทางสังคมที่เกิดขึ้นในโครงการลงทุนใหญ่ ที่มีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และได้พยายามตอบโจทย์ให้ลึกซึ้งขึ้นเมื่อมีการจัดตั้งธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อระบุรายละเอียดและคำนวณเป็น SROI ออกมา ในปี 2000 องค์กรที่ชื่อ REDF (The Roberts Enterprise Development Fund) ซึ่งเป็นองค์กรกองทุนการกุศลที่มีฐานใน San Francisco ให้ทุนสนับสนุนแก่องค์กรที่ทำธุรกิจเพื่อสังคม จึงต้องการวัดและประเมินผลกระทบกิจกรรมเพื่อสังคม จากนั้นมาวิธีการดังกล่าวก็เริ่มมาแพร่หลายในองค์กรธุรกิจและนำผลเหล่านี้มาเปิดเผยใน Sustainability Reporting รวมทั้งทำให้เกิดการพัฒนาประเด็น Social and Environmental Impacts ในวิชาการทาง Accounting ต่อมา



ในปี 2002 The Hewlett Foundation ได้ระดมสมองจาก Practitioners จาก US, Canada, UK ช่วยกันพัฒนา Methodology ของ SROI โดยมีข้อสรุปออกเป็น A Guidance-Style Article ตีพิมพ์ใน California Management Review และผู้คนจากกลุ่มนี้ได้พบกันอีกครั้งในปี 2006 เพื่อร่วมกันทบทวน Methodology และได้สรุปไว้ในหนังสือ "Social Return on Investment: a Guide to SROI"

ใน UK นั้น New Economic Foundation ก็ได้ริเริ่มค้นคว้าวิธีการวัด SROI และทดสอบโดยใช้ข้อมูลตัวอย่างของ UK และได้พิมพ์หนังสือชื่อ "A DIY Guide to Social Return on Investment" ขึ้นในปี 2007 ต่อมาหน่วยงานของรัฐบาล UK ที่ชื่อ The Office of The Third Sector และของรัฐบาล Scotland ได้ร่วมมือกันอนุมัติโครงการพัฒนา Guidelines เพื่อให้บรรดาธุรกิจเพื่อสังคมสามารถมี A Consistent, Verifiable Method ในการวัด Social Impact ซึ่งได้ข้อสรุปเป็น Guide to SROI โดย Social Value UK ขึ้นในปี 2009

การพัฒนาและความก้าวหน้าในเรื่องนี้ใน UK ทำให้นอกจากจะเกิด Social Value UK ที่เข้มแข็งแล้ว ยังทำให้เกิด Network ใหม่ คือ Social Value International ขึ้นตามมาด้วย โดยร่วมการคิดค้นแบ่งปันวิธีคำนวณค่า SROI ทั้งในส่วนที่เป็น Financial Proxies และการตีมูลค่าเงิน เป็นต้น จนมีการออก "Social Calue Principles" 7 ประการ ในปี 2017 ดังนี้

  • Involve Stakeholders
  • Understand What Changes
  • Value The Things That Matter
  • Only Include What is Materials
  • Do Not Over-Claim
  • Be Transparent
  • Verify The Result

ปัจจุบันมีการพัฒนา Software หลายรูปแบบที่ช่วยเป็นเครื่องมือในการทำ SROI Analysis

Monetization Principle

การคำนวณเม็ดเงินของ Social Impacts เป็นส่วนสำคัญของ SROI Analysis ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว มูลค่ามาจาก ราคา คูณด้วย ปริมาณ การกำหนดราคาจะเป็นปัญหาประการหนึ่ง เพราะกิจกรรมทางสังคมมักจะไม่มีราคาตลาด (Market Price) ที่กำหนดมาจากอุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาด้วยว่ากิจกรรมทางสังคมนั้นก่อให้เกิด ผลทางบวก ทางลบ ต่อผู้เกี่ยวข้อง (Positive / Negative Externalities) และมีผลต่อราคาอย่างไร เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับ Methodologies ของ SROI จึงสำคัญว่าจะคำนวณ ราคาและปริมาณ อย่างไร



เมื่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เช่น Climate Change เข้ามาเกี่ยวข้อง ปัจจุบัน SROI ก็ได้พัฒนาวิธีการรวมเอาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเข้ามาร่วมด้วย

ที่มา : Wikipedia

บทความโดย
รศ.(พิเศษ)ดร.กฤษฎา เสกตระกูล
ที่ปรึกษา
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย