Topic

20 ปี SET Awards : Sustainability Showcase

A showcase of Sustainability Excellence หนึ่งในต้นแบบแห่งความเป็นเลิศด้านความยั่งยืน

KBANK “ธนาคารแห่งความยั่งยืน” Bank of Sustainability  ที่เน้นการสร้างคุณค่าด้วยการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียรอบด้าน โดยเฉพาะการเพิ่มพลังธุรกิจของลูกค้าให้สามารถขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ควบคู่ไปกับกลยุทธ์ด้าน ESGจนได้รับรางวัล Best Sustainability Awards (ปี2565), Highly Commended in Sustainability Awards (ปี 2561-2562, 2564) จากงาน SET Awards

จากกลยุทธ์ของธนาคารที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตร่วมกันของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย การเพิ่มการกระจายการเข้าถึงทางการเงิน การขยายการลงทุนอย่างยั่งยืนส่งผลให้ K PLUS สามารถขยายฐานลูกค้าได้ถึง 15 ล้านคน มียอดธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์ม 12 ล้านล้านบาท โดยในการเติบโตนี้ยังมีการประเมินความเสี่ยงด้าน Cyber Security รอบด้านเพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรม และในปี 2565 KBANK ให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินกว่า 26,411 ล้านบาท ในรูปของ Sustainability-Linked Loan และ Bond เพื่อสนับสนุนเงินทุนให้กับบริษัทที่มีเป้าหมายด้านการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน รวมถึงได้ออกกองทุนเพื่อสนับสนุนการลงทุนอย่างยั่งยืนในกลุ่มกองทุนด้าน Environmental and Sustainable Funds ให้เป็นทางเลือกกับนักลงทุน โดยกองทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิกว่า 16,091 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางที่ KBANK มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2573 โดยกำหนดวงเงินสินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืน 1-2 แสนล้านบาท แก่คู่ค้าที่ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน พร้อมทั้งช่วยพัฒนาต่อยอดคู่ค้าให้ และสนับสนุนเครื่องมือวัดผล Decarbonization ทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงแล้ว 16% ในปี 2565 

ในด้านสังคม KBANK หนึ่งในโครงการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน คือ โครงการ AFTERKLASS ที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2547 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนอายุ 15-20 ปีซึ่งพบว่า ทุกการลงทุน 1 บาทของโครงการ สามารถสร้างประโยชน์ทางสังคมในมูลค่า 1.31 บาท (หรืออัตราผลตอบแทน SROI 1:1.31) ล่าสุด KBANK ออกแคมเปญ “สติ” ห้ความรู้กับประชาชน และเตือนใจลูกค้าผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงผ่านการทำธุรรมทางการเงินทางระบบดิจิทอล โดยมีผู้เข้าถึงความรู้นี้มากกว่า 15 ล้านคน

ทั้งหมดนี้คือ ตัวอย่างส่วนหนึ่งของเส้นทางการดำเนินธุรกิจที่มีความเป็นเลิศด้านความยั่งยืน ซึ่งอาศัยความทุ่มเทอย่างต่อเนื่องจากทุกคนในองค์กร ตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุดจนถึงระดับผู้ปฏิบัติการเพื่อส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายด้วยความใส่ใจรอบด้านทุกมิติ


สมบูรณ์แอ๊ดวานซ์เทคโนโลยี (SAT) “ขับเคลื่อนธุรกิจสู่อนาคตที่ยั่งยืน” ด้วยการปรับกลยุทธ์ธุรกิจและขับเคลื่อนองค์กรให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ และตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียรอบด้าน ความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องนี้ส่งผลให้ได้รับรางวัล Sustainability Awards of Honor ในปี 2564 และรางวัล Best Sustainability Awards ติดต่อกัน 3 ปีขึ้นไปจากงาน SET Awards

SAT
ปรับกลยุทธ์ธุรกิจตอบรับกระแสรถยนต์ EV โดยได้พัฒนาธุรกิจกลุ่มชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์รถยนต์ EV ร่วมลงทุนพัฒนารถสามล้อไฟฟ้า รถบัสไฟฟ้า และการประกอบแบตเตอรี่ อีกทั้งพัฒนากลุ่มธุรกิจ Automation และ Smart Factory  และยังคงรักษาสัดส่วนมูลค่าทางการตลาดของธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และ เครื่องจักรทางการเกษตร ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ บริษัทปรับและบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดยในปี 2565 บริษัทใช้วัสดุเหล็กรีไซเคิลในการผลิตได้ถึง 73% ของปริมาณเหล็กที่ใช้ (101,813 ตัน), เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 3.23% ซึ่งช่วยประหยัดพลังงานได้ 12 ล้านบาท. ลดการใช้น้ำลงได้ 18%, ติดตั้งระบบบำบัด Coolant ในทุกโรงงานส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย 0.6 ล้านบาทต่อปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 1-2 และ 3 ลงได้ 13.46% และ 6.69% ตามลำดับ

ในการดูแลพนักงาน คู่ค้า ลูกค้าและชุมชน SAT ดูแลสวัสดิการให้กับพนักงานโดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะความรู้ที่จำเป็นในอนาคตผ่านหลักสูตรพัฒนาบุคลากร 65 หลักสูตรส่งผลให้คะแนนความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรสูงถึง 78%, ดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์และรับผิดชอบกับคู่ค้า ประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชัน (CAC) มีคู่ค้าเข้าร่วมมากถึง 96% และได้จัดให้เยาวชนเข้ามาเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติงานเพื่อช่วยสร้างทักษะอาชีพ พร้อมทั้งมีโครงการพัฒนาโรงเรียนชุมชนรอบโรงงานและสร้างโอกาสทางการศึกษาผ่านการมอบทุนนักเรียน 98 คน

ทั้งหมดนี้สะท้อนการดำเนินธุรกิจของ SAT ภายใต้กลยุทธ์ Drive Business Toward a Sustainable Future ด้วยความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกฝ่าย ยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ผ่านการสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตทางธุรกิจ การพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมกับให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันภายใต้ปรัชญาพอเพียง และ “3 สมบูรณ์ สร้างสมดุล” คือ คนสมบูรณ์ ธุรกิจสมบูรณ์ ชุมชนสมบูรณ์

ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของ AMATA นั้นเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรในปริมาณมาก และผู้มีส่วนได้เสียรอบด้านหลายฝ่าย ทั้งทางตรงและทางอ้อม ถือเป็นความท้าทายที่บริษัทต้องทุ่มเทอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรมให้เติบโตควบคู่ไปกับการดูแลพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน และสิ่งแวดล้อมโดยรอบ  และจากการทำงานโดยยึดหลักปรัชญา “ALL WIN” ทำให้ AMATA ได้รับรางวัล Best Sustainability Awards ในปี 2564 และ 2562 จากงาน SET Awards

AMATA ปรับโครงสร้างธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืน
ขยายธุรกิจใหม่ และสรรหานวัตกรรมเพื่อสร้างเมืองอุตสาหกรรมอัจฉริยะ มุ่งเน้นให้บริการสาธารณูปโภคที่ดี จัดให้มีพื้นที่สีเขียวในสัดส่วนเกินกว่า 10%, ไม่มีน้ำเสียถูกปล่อยทิ้งออกจากนิคมอุตสาหกรรม (Zero Discharge) โดยน้ำที่ผ่านการบำบัดถูกนำมาใช้ประโยชน์ในนิคม 100% และต้นทุนในการจัดหาน้ำลดลง 76.5 ล้านบาท พร้อมดำเนินโครงการ Smart Energy และ Smart Environment ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมลงได้ 14% และมีอัตราการใช้พลังงาน ลดลง 4.5% (เทียบกับปีฐาน 2562) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสู่การเป็น“เมืองที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” ภายในปี 2583 นอกจากนั้น ได้ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจขยายระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ (Floating Solar Power Generation System) ในอ่างเก็บน้ำภายในนิคม ส่งผลให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,663 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ในปี 2565 นิคมอุตสาหกรรมของ AMATA มีรายได้เติบโตขึ้น 37.78% 

ในมิติการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงาน คู่ค้า และชุมชนโดยรอบนั้น AMATA ให้ความสำคัญกับการจัดการด้านความปลอดภัยในนิคมฯ ทำให้ในปี 2565 อุบัติเหตุทางถนนในนิคมฯ ถึงขั้นเสียชีวิตเป็นศูนย์, อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงานเป็นศูนย์, และการละเมิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของพนักงานเป็นศูนย์ AMATA ยังกำหนดให้คู่ค้าสำคัญและคู่ค้าใหม่ต้องทำการประเมินความเสี่ยง ESG ซึ่งเป็นความพยายามในการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

นอกจากนััน ยังมีโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบในด้านการจัดการน้ำ ซึ่งเป็นประเด็นเปราะบางของพื้นที่ การจัดการขยะและของเสียทั้งภายในนิคมและชุมชนโดยรอบ โดยส่งเสริมการแยกขยะ ส่งผลให้สามารถลดปริมาณขยะที่ส่งไปฝังกลบ (Zero Waste to Landfill) เหลือเป็น 0% ทำให้ต้นทุนในการกำจัดของเสียลดลง 28.5 ล้านบาท และรายได้เพิ่มขึ้นจากการรีไซเคิล 2.4 ล้านบาท อีกทั้งความพึงพอใจของลูกค้าในการบริการจัดการของเสียเพิ่มขึ้น 80%

ทั้งหมดนี้ สะท้อนการดำเนินธุรกิจของ AMATA ที่มุ่งมั่นสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยการพัฒนานิคมเมืองอุตสาหกรรมอัจฉริยะ พร้อมจัดการทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียรอบด้าน ด้วยเป้าหมายในการเติบโตไปด้วยกันแบบ “ALL WIN”

 

------------------------------------------

บทความที่เกี่ยวข้อง
 

ทำความรู้จักกับ SET Awards รางวัลแห่งแรงบันดาลใจ เพื่อการยกระดับตลาดทุนไทย Click

เกณฑ์ในการพิจารณารางวัล สู่มาตรฐานแห่งความเป็นเลิศ (กลุ่ม Business Excellence) Click

เกณฑ์ในการพิจารณารางวัล สู่มาตรฐานแห่งความเป็นเลิศ (กลุ่ม Sustainability Excellence) Click

 

คณะทำงานผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อการสร้างมาตรฐานแห่ง SET Awards Click

ความร่วมมือกับองค์กรระดับประเทศ Click

รางวัลแห่งแรงบันดาลใจ Click

 

2 ทศวรรษแห่งเส้นทางความสำเร็จยกระดับมาตรฐานตลาดทุนไทย Click

Best Investor Relations Awards จุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จ Click

Best CEO Awards และ Young Rising Star CEO Awards ความสำเร็จจากผู้นำที่เป็นเลิศ Click

 

Best Company Performance Awards สะท้อนความสำเร็จผ่านผลประกอบการยอดเยี่ยม Click

Deal of The Year Awards ความสำเร็จในการสร้างทางเลือกให้นักลงทุน และเปิดโอกาสการระดมทุนให้บริษัท Click

Best Securities Company Awards ความสำเร็จในการช่วยส่งเสริมการซื้อขาย และการเติบโตของตลาดทุน Click

 

Best Asset Management Awards ความสำเร็จในการบริหารจัดการกองทุนได้อย่างโดดเด่น สร้างผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน Click

Best Innovative Company Awards ความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมในองค์กร Click

ผลงานนวัตกรรมตัวอย่าง ที่ช่วยยกระดับเส้นทางสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน Click

 

Benchmark of Sustainability Excellence มาตรฐานแห่งความเป็นเลิศด้านความยั่งยืน Click

ESG ถนนสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน Click

Road to Sustainability Excellence Click

 

Coming Soon