Topic
20 ปี SET Awards : Sustainability Showcase
A showcase of Sustainability Excellence หนึ่งในต้นแบบแห่งความเป็นเลิศด้านความยั่งยืน
KBANK “ธนาคารแห่งความยั่งยืน” Bank of Sustainability ที่เน้นการสร้างคุณค่าด้วยการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียรอบด้าน โดยเฉพาะการเพิ่มพลังธุรกิจของลูกค้าให้สามารถขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ควบคู่ไปกับกลยุทธ์ด้าน ESGจนได้รับรางวัล Best Sustainability Awards (ปี2565), Highly Commended in Sustainability Awards (ปี 2561-2562, 2564) จากงาน SET Awards
จากกลยุทธ์ของธนาคารที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตร่วมกันของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย การเพิ่มการกระจายการเข้าถึงทางการเงิน การขยายการลงทุนอย่างยั่งยืนส่งผลให้ K PLUS สามารถขยายฐานลูกค้าได้ถึง 15 ล้านคน มียอดธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์ม 12 ล้านล้านบาท โดยในการเติบโตนี้ยังมีการประเมินความเสี่ยงด้าน Cyber Security รอบด้านเพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรม และในปี 2565 KBANK ให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินกว่า 26,411 ล้านบาท ในรูปของ Sustainability-Linked Loan และ Bond เพื่อสนับสนุนเงินทุนให้กับบริษัทที่มีเป้าหมายด้านการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน รวมถึงได้ออกกองทุนเพื่อสนับสนุนการลงทุนอย่างยั่งยืนในกลุ่มกองทุนด้าน Environmental and Sustainable Funds ให้เป็นทางเลือกกับนักลงทุน โดยกองทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิกว่า 16,091 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางที่ KBANK มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2573 โดยกำหนดวงเงินสินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืน 1-2 แสนล้านบาท แก่คู่ค้าที่ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน พร้อมทั้งช่วยพัฒนาต่อยอดคู่ค้าให้ และสนับสนุนเครื่องมือวัดผล Decarbonization ทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงแล้ว 16% ในปี 2565
ในด้านสังคม KBANK หนึ่งในโครงการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน คือ โครงการ AFTERKLASS ที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2547 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนอายุ 15-20 ปีซึ่งพบว่า ทุกการลงทุน 1 บาทของโครงการ สามารถสร้างประโยชน์ทางสังคมในมูลค่า 1.31 บาท (หรืออัตราผลตอบแทน SROI 1:1.31) ล่าสุด KBANK ออกแคมเปญ “สติ” ห้ความรู้กับประชาชน และเตือนใจลูกค้าผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงผ่านการทำธุรรมทางการเงินทางระบบดิจิทอล โดยมีผู้เข้าถึงความรู้นี้มากกว่า 15 ล้านคน
ทั้งหมดนี้คือ ตัวอย่างส่วนหนึ่งของเส้นทางการดำเนินธุรกิจที่มีความเป็นเลิศด้านความยั่งยืน ซึ่งอาศัยความทุ่มเทอย่างต่อเนื่องจากทุกคนในองค์กร ตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุดจนถึงระดับผู้ปฏิบัติการเพื่อส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายด้วยความใส่ใจรอบด้านทุกมิติ
สมบูรณ์แอ๊ดวานซ์เทคโนโลยี (SAT) “ขับเคลื่อนธุรกิจสู่อนาคตที่ยั่งยืน” ด้วยการปรับกลยุทธ์ธุรกิจและขับเคลื่อนองค์กรให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ และตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียรอบด้าน ความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องนี้ส่งผลให้ได้รับรางวัล Sustainability Awards of Honor ในปี 2564 และรางวัล Best Sustainability Awards ติดต่อกัน 3 ปีขึ้นไปจากงาน SET Awards
SAT
ปรับกลยุทธ์ธุรกิจตอบรับกระแสรถยนต์ EV โดยได้พัฒนาธุรกิจกลุ่มชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์รถยนต์ EV ร่วมลงทุนพัฒนารถสามล้อไฟฟ้า รถบัสไฟฟ้า และการประกอบแบตเตอรี่ อีกทั้งพัฒนากลุ่มธุรกิจ Automation และ Smart Factory และยังคงรักษาสัดส่วนมูลค่าทางการตลาดของธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และ เครื่องจักรทางการเกษตร ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ บริษัทปรับและบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดยในปี 2565 บริษัทใช้วัสดุเหล็กรีไซเคิลในการผลิตได้ถึง 73% ของปริมาณเหล็กที่ใช้ (101,813 ตัน), เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 3.23% ซึ่งช่วยประหยัดพลังงานได้ 12 ล้านบาท. ลดการใช้น้ำลงได้ 18%, ติดตั้งระบบบำบัด Coolant ในทุกโรงงานส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย 0.6 ล้านบาทต่อปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 1-2 และ 3 ลงได้ 13.46% และ 6.69% ตามลำดับ
ในการดูแลพนักงาน คู่ค้า ลูกค้าและชุมชน SAT ดูแลสวัสดิการให้กับพนักงานโดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะความรู้ที่จำเป็นในอนาคตผ่านหลักสูตรพัฒนาบุคลากร 65 หลักสูตรส่งผลให้คะแนนความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรสูงถึง 78%, ดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์และรับผิดชอบกับคู่ค้า ประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชัน (CAC) มีคู่ค้าเข้าร่วมมากถึง 96% และได้จัดให้เยาวชนเข้ามาเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติงานเพื่อช่วยสร้างทักษะอาชีพ พร้อมทั้งมีโครงการพัฒนาโรงเรียนชุมชนรอบโรงงานและสร้างโอกาสทางการศึกษาผ่านการมอบทุนนักเรียน 98 คน
ทั้งหมดนี้สะท้อนการดำเนินธุรกิจของ SAT ภายใต้กลยุทธ์ Drive Business Toward a Sustainable Future ด้วยความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกฝ่าย ยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ผ่านการสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตทางธุรกิจ การพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมกับให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันภายใต้ปรัชญาพอเพียง และ “3 สมบูรณ์ สร้างสมดุล” คือ คนสมบูรณ์ ธุรกิจสมบูรณ์ ชุมชนสมบูรณ์
ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของ AMATA นั้นเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรในปริมาณมาก และผู้มีส่วนได้เสียรอบด้านหลายฝ่าย ทั้งทางตรงและทางอ้อม ถือเป็นความท้าทายที่บริษัทต้องทุ่มเทอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรมให้เติบโตควบคู่ไปกับการดูแลพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน และสิ่งแวดล้อมโดยรอบ และจากการทำงานโดยยึดหลักปรัชญา “ALL WIN” ทำให้ AMATA ได้รับรางวัล Best Sustainability Awards ในปี 2564 และ 2562 จากงาน SET Awards
AMATA ปรับโครงสร้างธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืน
ขยายธุรกิจใหม่ และสรรหานวัตกรรมเพื่อสร้างเมืองอุตสาหกรรมอัจฉริยะ มุ่งเน้นให้บริการสาธารณูปโภคที่ดี จัดให้มีพื้นที่สีเขียวในสัดส่วนเกินกว่า 10%, ไม่มีน้ำเสียถูกปล่อยทิ้งออกจากนิคมอุตสาหกรรม (Zero Discharge) โดยน้ำที่ผ่านการบำบัดถูกนำมาใช้ประโยชน์ในนิคม 100% และต้นทุนในการจัดหาน้ำลดลง 76.5 ล้านบาท พร้อมดำเนินโครงการ Smart Energy และ Smart Environment ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมลงได้ 14% และมีอัตราการใช้พลังงาน ลดลง 4.5% (เทียบกับปีฐาน 2562) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสู่การเป็น“เมืองที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” ภายในปี 2583 นอกจากนั้น ได้ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจขยายระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ (Floating Solar Power Generation System) ในอ่างเก็บน้ำภายในนิคม ส่งผลให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,663 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ในปี 2565 นิคมอุตสาหกรรมของ AMATA มีรายได้เติบโตขึ้น 37.78%
ในมิติการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงาน คู่ค้า และชุมชนโดยรอบนั้น AMATA ให้ความสำคัญกับการจัดการด้านความปลอดภัยในนิคมฯ ทำให้ในปี 2565 อุบัติเหตุทางถนนในนิคมฯ ถึงขั้นเสียชีวิตเป็นศูนย์, อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงานเป็นศูนย์, และการละเมิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของพนักงานเป็นศูนย์ AMATA ยังกำหนดให้คู่ค้าสำคัญและคู่ค้าใหม่ต้องทำการประเมินความเสี่ยง ESG ซึ่งเป็นความพยายามในการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
นอกจากนััน ยังมีโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบในด้านการจัดการน้ำ ซึ่งเป็นประเด็นเปราะบางของพื้นที่ การจัดการขยะและของเสียทั้งภายในนิคมและชุมชนโดยรอบ โดยส่งเสริมการแยกขยะ ส่งผลให้สามารถลดปริมาณขยะที่ส่งไปฝังกลบ (Zero Waste to Landfill) เหลือเป็น 0% ทำให้ต้นทุนในการกำจัดของเสียลดลง 28.5 ล้านบาท และรายได้เพิ่มขึ้นจากการรีไซเคิล 2.4 ล้านบาท อีกทั้งความพึงพอใจของลูกค้าในการบริการจัดการของเสียเพิ่มขึ้น 80%
ทั้งหมดนี้ สะท้อนการดำเนินธุรกิจของ AMATA ที่มุ่งมั่นสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยการพัฒนานิคมเมืองอุตสาหกรรมอัจฉริยะ พร้อมจัดการทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียรอบด้าน ด้วยเป้าหมายในการเติบโตไปด้วยกันแบบ “ALL WIN”
ทำความรู้จักกับ SET Awards รางวัลแห่งแรงบันดาลใจ เพื่อการยกระดับตลาดทุนไทย Click เกณฑ์ในการพิจารณารางวัล สู่มาตรฐานแห่งความเป็นเลิศ (กลุ่ม Business Excellence) Click เกณฑ์ในการพิจารณารางวัล สู่มาตรฐานแห่งความเป็นเลิศ (กลุ่ม Sustainability Excellence) Click |
คณะทำงานผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อการสร้างมาตรฐานแห่ง SET Awards Click ความร่วมมือกับองค์กรระดับประเทศ Click รางวัลแห่งแรงบันดาลใจ Click |