Topic
คุณสมบัติ 'คนทำงานด้านความยั่งยืน' จากมุมมองนายจ้าง
มุมมองและการตกผลึกทางความคิดจากการหารือระหว่าง MUIC กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้าน ESG ของตลาดหลักทรัพย์
บทสรุปด้านล่างนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการประชุมผ่านระบบ Zoom ระหว่าง สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้าน ESG ของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 10 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00 น. – 16.00 น. และข้อมูลจากผลการสำรวจความคิดเห็นจากสมาชิกในกลุ่มSET ESG Experts Pool
ขอขอบคุณสมาชิกกลุ่ม SET ESG Experts Pool ดังรายนามต่อไปนี้ สำหรับการให้ข้อมูลของท่าน
คุณกมล รุ่งเรืองยศ / คุณเกษม พันธ์รัตนมาลา / คุณทิพปภา มีศิลป์ / คุณดวงกมล อินทรพราหมณ์ / คุณนำพล ลิ้มประเสริฐ / คุณณินทิรา อภิสิงห์ / คุณฑิตยนันท์ บุณยรัตพันธุ์ / คุณพันธ์สิริ สุตเธียรกุล / คุณเสาวนีย์ จรัสเรืองชัย / ดร.สุรปรีช์ เมาลีกุล และดร.เอกภัทร มานิตขจรกิจ
วิธีคิด (mindset)/คุณลักษณะ: วิธีคิดที่เห็นภาพองค์รวม และเห็นความสำคัญของการเป็นสมาชิกของโลก: สนับสนุนหลักสูตรที่ส่งเสริมให้นักศึกษามองไปไกลกว่าผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงเพียงเท่านั้น และเข้าใจผลกระทบเชิงสังคมในระดับกว้างซึ่งเกิดจากการตัดสินใจของพวกเขา และทำให้นักศึกษามองเห็นว่ามิติเชิงสังคมนั้น ครอบคลุมไปไกลกว่าแค่พนักงานในองค์กร แต่รวมถึงทุกคนในห่วงโซ่อุปทานและสังคม เราจำเป็นต้องสร้างผู้นำยุคใหม่ที่มองเห็นภาพตนเอง รวมทั้งบทบาทและองค์กรของตนว่าเป็นสมาชิกของสังคมที่กว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ นักศึกษายังจำเป็นต้องผสานและเชื่อมโยงมิติและแง่มุมต่างๆ ของ ESG เข้าไว้ด้วยกันให้ได้
วิธีคิดด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน: เน้นย้ำถึงความสำคัญของวิธีคิดด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยปลูกฝังให้พนักงานตระหนักถึงวิธีคิดนี้ด้วยใจ ไม่ใช่เพียงความคิด การปลูกฝังนี้อาจทำได้โดยการสนับสนุนนักศึกษาในโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน และการมีส่วนร่วม อย่างไรก็ตาม ต้องผลักดันให้มีทัศนคติต่อความยั่งยืนที่กว้างไปกว่าแค่กิจกรรม CSR พวกเขาจำเป็นต้องเข้าใจกรอบการทำงานของ ESG นอกจากนี้ นักศึกษาจำเป็นต้องมองความยั่งยืนเป็นพันธกิจที่ต้องมุ่งเดินหน้าเพื่อให้บรรลุผล
วิธีคิดที่มุ่งสู่การเติบโต : สนับสนุนให้เกิดวิธีคิดที่มุ่งสู่การเติบโต โดยส่งเสริมให้เกิดความต้องการเรียนรู้และการนำไปปรับใช้
การเปลี่ยนผ่านจากระบบการทำงานคนเดียวไปสู่การทำงานเป็นทีม: แสดงให้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านจากวิธีคิดแบบทำงานคนเดียวไปสู่วิธีการทำงานเป็นทีม โดยย้ำให้เห็นถึงประโยชน์ของการแก้ปัญหาร่วมกันและความสามารถในการทำงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน
ลักษณะโดยรวมของความยั่งยืน: ผู้เข้าร่วมประชุมตระหนักดีว่า ความยั่งยืนเป็นกรอบแนวคิดกว้างๆ ที่สัมพันธ์กับทุกคน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด อย่างไรก็ตาม พวกเขาทราบดีว่า ยังมีความจำเป็นที่จะต้องตีกรอบประเด็นที่ควรให้ความสำคัญภายใต้เรื่องความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษา ดังนั้น การทำความเข้าใจเหตุผลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้าน ESG จึงเป็นเรื่องสำคัญ
ความรู้ พื้นฐานเรื่องความยั่งยืนโดยรวม: พื้นฐานเรื่อง ESG การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์และการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล การจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืน การจัดการสิ่งแวดล้อมทั่วไป การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การกำกับดูแลกิจการ สิทธิมนุษยชนและการดำเนินธุรกิจ การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนแบบ Double Materiality การตั้งเป้าหมายและการปรับปรุงเครื่องชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน
การสร้างมูลค่า: สอนนักศึกษาให้รู้วิธีสร้างมูลค่าให้กับองค์กรและสังคมโดยรวม โดยเน้นย้ำการผสานเป้าหมายขององค์กรและสังคมเข้าด้วยกัน รวมถึง การเรียนรู้ถึงสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญในเรื่องของความยั่งยืน
การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า: การเข้าใจกรอบการทำงานการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ช่วยให้องค์กรเข้าใจกระบวนการและกิจกรรมที่สร้างมูลค่าในผลิตภัณฑ์และบริการของพวกเขา
ความสามารถในการปรับใช้เชิงเทคนิค: ฝึกให้นักศึกษามีความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวอยู่ตลอดเวลาต่อคำศัพท์ทางเทคนิค กรอบการทำงาน และมาตรการวัดที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั่วโลก โดยสนับสนุนให้พวกเขาปรับตัวให้เข้ากับลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของภาคธุรกิจ
การวัดผลกระทบและการคำนวณผลตอบแทน: การวัดและการจัดการผลกระทบการคำนวณผลตอบแทนทางการเงินและผลตอบแทนที่ไม่ได้อยู่ในรูปการเงินที่สนับสนุนโครงการ ESG เช่น SROI, EROI, HROI
ความรู้เพิ่มเติม: การพัฒนาแผนธุรกิจและกลยุทธ์ความยั่งยืน การจัดการนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน เศรษฐกิจหมุนเวียน
ความสำคัญของคะแนนด้าน ESG: คะแนนด้าน ESG เป็นสิ่งที่นักลงทุนให้ความสำคัญ การรายงานและการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานสากลGlobal Reporting Initiative (GRI) ทั้งหมดนี้ นับเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งควรมีการเน้นย้ำถึง การช่วยนักศึกษาให้สามารถเตรียมรายงานด้าน ESG และ TCFD (Task Force for Climate-Related Financial Disclosures) ได้
ชุดทักษะเพิ่มเติมสำหรับระดับปริญญาโท ความสามารถในการใช้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยสมัครใจและมาตรฐานต่างๆ อาทิเช่น GRI การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์
ความสามารถในการวัดเกณฑ์มาตรฐาน (benchmark) และการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบผลลัพธ์ของกรอบการทำงานและมาตรฐานด้านความยั่งยืนที่แตกต่างกัน เช่น ผลลัพธ์จากโครงการการบูรณาการประเด็นด้านความยั่งยืนในกระบวนการทางธุรกิจ (ESG in action) อาทิ SROI ความสามารถในการเปรียบเทียบกรณีศึกษาต่างๆ จากบริษัทชั้นนำ และประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัทเหล่านั้น ความสามารถในการให้คำปรึกษา แนะนำและริเริ่มโครงการด้านความยั่งยืนที่สร้างผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้ยังรวมถึงความสามารถในการเขียนรายงานความยั่งยืน
ชุดทักษะ ทักษะการทำงานร่วมกัน: เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกการสร้างการความร่วมมือและประสานการทำงานร่วมกันภายในองค์กร โดยปลูกฝังให้พวกเขาเข้าใจถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกัน
การเสนอความคิดเห็นและความมุ่งมั่น: นักศึกษาพึงสามารถแสดงความคิดเห็นเชิงนวัตกรรมและแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงที่มีต่อความยั่งยืน
ทักษะการวิเคราะห์: แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของทักษะการวิเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการประเมินว่ามาตรฐานความยั่งยืนส่งผลกระทบต่อองค์กรและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไร เช่น การวิเคราะห์และการประเมินข้อมูลด้าน ESG
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ: ย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมีทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน ปิดช่องว่างด้านข้อมูล และโน้มน้าวแผนกอื่นๆ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อให้ดำเนินการโครงการพัฒนาด้านความยั่งยืน
ออกแบบเนื้อหาและการเล่าเรื่องที่ให้เห็นภาพชัดเจน: เป็นทักษะที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการทำให้รายงานความยั่งยืนสามารถสะท้อนเนื้อหาที่ให้เห็นภาพอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้นักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียสามารถเข้าใจได้โดยง่ายและชัดเจน
ทักษะความเข้าใจภาษาอังกฤษ: เนื่องจากมาตรฐานความยั่งยืนจำนวนมากเป็นภาษาอังกฤษ นักศึกษาที่มีความเข้าใจภาษาอังกฤษในระดับดีจะมีข้อได้เปรียบ โดยพวกเขาสามารถช่วยแปลเอกสารเป็นภาษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาในรายงานความยั่งยืน
ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม: สนับสนุนให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์และมีนวัตกรรม โดยส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถริเริ่มโครงการใหม่ๆ ที่ช่วยตอบโจทย์เป้าหมายความยั่งยืนขององค์กร
ทักษะในการบริหารบุคคลที่ทำงานด้วยยาก: เตรียมความพร้อมให้นักศึกษาสามารถจัดการปัญหาเรื่องบุคคล ที่จะต้องประสานงาน การทำงานร่วมกัน และให้มีความสามารถในการจูงใจผู้อื่นได้
ทักษะอื่นๆ: ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการรายงาน ทักษะการฟัง การวางสมมติฐานต่างๆ
ชุดทักษะเพิ่มเติมสำหรับระดับปริญญาโท ทักษะการบริหารโครงการ: สามารถบริหารโครงการที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนได้ |
หลักสูตรและเนื้อหาจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหน้าที่ในงานและตำแหน่ง โดยมีขอบเขตตั้งแต่ความสามารถในการทำรายงานและการเปิดเผยข้อมูล การจัดการการบริหารห่วงโซ่อุปทาน การวัดเกณฑ์ (benchmarking) และการทำบัญชีและธุรกรรม เงินกู้และประกันที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการเน้นที่งานใดก่อน
ผู้ประกอบการ: หากคุณกำลังสร้างผู้ประกอบการ มาตรฐาน GRI อาจไม่จำเป็น แต่นักศึกษาจำเป็นต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าเป้าหมายปลายทางของตนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน (เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ ธรรมชาติ และความไม่เท่าเทียม
เจ้าหน้าที่ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้จัดการ และผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน: รับผิดชอบในการประสานงานและเก็บข้อมูลด้านความยั่งยืน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์และการดำเนินงานในโครงการด้านความยั่งยืน สามารถทำหน้าที่เป็น ‘ผู้จัดการโครงการ’ ของกิจกรรมที่เกี่ยวกับการบูรณาการความยั่งยืนในกระบวนการทางธุรกิจ มีความเข้าใจและร่างรายงานความยั่งยืน ติดตามสิ่งที่นักลงทุนต้องการ ในแง่ของแนวโน้มของโลกและความคาดหวัง รวมทั้งสามารถนำทีมได้
นักวิเคราะห์: รับผิดชอบในการพัฒนากลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กร และรับผิดชอบการวางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-ปรับปรุงโครงการจัดการด้านความยั่งยืน นักวิเคราะห์จำเป็นต้องมีความสามารถในการสื่อสารเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพื่อโน้มน้าวผู้บริหารระดับสูงและสื่อสารนโยบายจากผู้บริหารสู่ระดับปฏิบัติการในแผนกต่างๆ ภายในบริษัท นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาแผนธุรกิจและผลักดันให้แผนการดำเนินงานสอดคล้องกับเป้าหมาย สอดคล้องกับดัชนีวัดความสำเร็จของผลงานและเกณฑ์ด้านความยั่งยืน (sustainability benchmarking) นักวิเคราะห์ต้องออกแบบและติดตามความสำเร็จของการดำเนินงานด้านESG ในขณะเดียวกัน ต้องรายงานและวิเคราะห์ช่องว่างเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ: รับผิดชอบในการค้นหาและสังเคราะห์ต้นแบบธุรกิจที่ยั่งยืน รวมทั้งนวัตกรรมที่ยั่งยืนที่ตอบโจทย์โครงการต่างๆ ด้าน ESG ขององค์กร โดยรับผิดชอบต่อการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-design) ซึ่งตอบโจทย์ธุรกิจในการเติบโต และตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาที่เป็นประเด็นในเชิงสังคมหรือสิ่งแวดล้อม
นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม: รับผิดชอบในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
วิศวกร รับผิดชอบด้านพลังงานหมุนเวียน เช่น หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ ESS การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พลังงานหมุนเวียน/คาร์บอนต่ำ
งานประเภทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลด้าน ESG เพื่อประเมินมูลค่า เราจะเห็นแนวโน้มสำหรับงานนี้มากขึ้นในวงการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งนักศึกษาอาจจะมีโอกาสได้ทำ การมีความรู้พื้นฐานด้าน ESG จึงเป็นสิ่งสำคัญ พวกเขาต้องรู้ว่า จะหาข้อมูลได้จากแหล่งใด อาทิเช่น ตลาดหลักทรัพย์ เว็บไซต์ภายนอก และรายงานประจำปี นอกจากนี้ พวกเขาต้องรู้ว่าในแต่ละภาคธุรกิจมีปัจจัยสำคัญอะไรบ้าง เพื่อที่พวกเขาจะสามารถประเมินประเด็นสำคัญ ให้คะแนน และรวมข้อมูลเหล่านั้นในการประเมินมูลค่า
งานอื่นๆ: ผู้ทวนสอบ ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน วิศวกรกระบวนการผลิต ผู้จัดการบำบัดของเสีย
งานของผู้ทวนสอบ (การทวนสอบ):
มีการพูดถึงความจำเป็นในการต้องมีผู้ทวนสอบจากภายนอกเพื่อทวนสอบข้อมูลที่บริษัทอ้างอิงถึงในรายงานของพวกเขา เป็นที่รับทราบกันว่าปัจจุบันยังขาดบุคลากรในตำแหน่งงานนี้ และบริษัทต่างๆ ต้องการผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำงานในด้านนี้
|
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร: จากมุมมองของภาคธุรกิจ การให้ความสำคัญด้านความยั่งยืนจากมุมมองของภาคธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญ บริษัทหลายแห่งพยายามผสมผสานความยั่งยืนเป็นแกนกลางของกลยุทธ์องค์กร หากภาคธุรกิจไม่ผสมผสานมุมมองด้าน ESG และให้ความสำคัญกับการทำกำไรเท่านั้น ผลที่ตามมาก็คือ ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเพิ่มมากขึ้น และเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการให้ความรู้กับทีมธุรกิจเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ ซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาหลังจากที่โครงการได้เริ่มแล้ว ดังนั้น เนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงด้านESG สำหรับนักศึกษาบริหารธุรกิจจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
MUIC สามารถผนวกแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง ไปพร้อมๆ กับการมอบทรัพยากรการเรียนรู้และการอบรม เพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างความเข้าใจ
การผสมผสานเรื่องความยั่งยืน: ควรผสานเรื่องความยั่งยืนในทุกหลักสูตรและทุกวิชาเอก โดยไม่พึงแต่ให้นักศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับความยั่งยืน แต่ควรพัฒนาวิธีคิด ทัศนคติ และทักษะในการใช้หลักการด้านความยั่งยืน
การปรับใช้และความยืดหยุ่น: เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องปรับและแปลงเนื้อหาของแต่ละหลักสูตรเพื่อสอนเรื่องความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นไปที่การผลิตผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบและมีวิธีคิดเรื่องความยั่งยืน
หลักสูตรเตรียมตัวสู่อาชีพ ที่สามารถช่วยให้นักศึกษาเห็นว่าจะสามารถปรับ KSAs ด้านความยั่งยืนไปใช้กับงานของพวกเขาได้อย่างไร อาทิเช่น หากพวกเขาเป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นนักวิเคราะห์ด้านการเงิน หลักสูตรเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ นักศึกษามีมุมมองที่จำกัดต่ออาชีพการงานของพวกเขา พวกเขาอาจจะไม่เข้าใจว่าหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนจะช่วยพวกเขาได้อย่างไร และอาจไม่เลือกที่จะลงเรียน ดังนั้น เราควรช่วยให้พวกเขาเห็นประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง
พื้นฐานเรื่องความยั่งยืน: การบริหารจัดการด้านความยั่งยืน (Sustainability management) ทั้งในบริบทระดับภายในประเทศและบริบทระดับโลก พื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability Development) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
หลักสูตรที่เกี่ยวกับ ESG: สามารถพัฒนาหลักสูตรเฉพาะสำหรับแต่ละมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม หรือธรรมาภิบาล และทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้เครื่องมือต่างๆ ในแต่ละมิติ เช่น การทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) สำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศSROI สำหรับมิติด้านสังคม
การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: ควรรู้ว่าผู้มีส่วนได้เสียของเราคือใคร และรู้ถึงปัจจัยที่สำคัญในการรายงานด้าน ESG เช่น แง่มุมเชิงสิ่งแวดล้อมและสังคม
เนื้อหาเชิงเทคนิคที่เชื่อมโยงกับทักษะในการรายงาน: ควรเตรียมนักศึกษาให้สามารถเลือกเป้าหมาย จัดกรอบข้อมูล และทำรายงาน โดยให้นักศึกษาทราบถึงความคาดหวังของเครื่องมือแต่ละชิ้น และกรอบการทำงานแต่ละกรอบ
การเรียนรู้เชิงลงมือปฏิบัติ: สร้างกิจกรรมและโครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อส่งเสริมการเรียน เช่น การทำรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน การมีส่วนร่วมในโครงการด้านความยั่งยืนภายใน MUIC
ความร่วมมือกับอุตสาหกรรม: หลักสูตรบริหารธุรกิจสามารถประสานความร่วมมือกับบริษัทต่างๆ ในโครงการการบูรณาการความยั่งยืนในกระบวนการทางธุรกิจหรือหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และนวัตกรรม สามารถประสานความร่วมมือเพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเชิงพาณิชย์
การประชุมเชิงปฏิบัติการและหลักสูตรต่อยอด: มีการพิจารณาประเด็นเรื่องการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับทักษะด้านความยั่งยืนโดยเฉพาะ และความเป็นไปได้ในการตั้งวิชาเอก หรือหลักสูตรต่อยอดในด้านความยั่งยืน
โครงการวิจัย (สำหรับหลักสูตรปริญญาโท): ให้โอกาสนักศึกษาในการทำงานวิจัยในด้านความยั่งยืน เช่น การเปรียบเทียบข้ามอุตสาหกรรมซึ่งเชื่อมโยงกับ THSI และ DJSI โดยใช้วิธีการมองจากระดับผู้บริหารสู่ระดับปฏิบัติการ และการมองจากระดับปฏิบัติการขึ้นไปสู่ระดับบริหาร ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนผ่านด้านความยั่งยืน |
กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน: พิจารณาว่าจะให้ผู้บริหารจากหน่วยงานที่ต่างกันมาออกแบบหลักสูตรด้านความยั่งยืน (เช่น การผสมผสานประเด็นความยั่งยืนในวิชาและสาขาธุรกิจต่างๆ) หรือ พิจารณาว่าวัตถุประสงค์ คือการมีหลักสูตรความยั่งยืนเฉพาะที่เน้นผลิตบัณฑิตเฉพาะทาง (เช่น บัณฑิตเป็นผู้ประกอบการ, บัณฑิตร่วมงานกับบริษัทขนาดใหญ่, บัณฑิตทำงานเป็นผู้ทวนสอบด้าน ESG) ทั้งหมดนี้สามารถทำแบบค่อยเป็นค่อยไป
เริ่มจากก้าวเล็กๆ ก่อน:
วิสัยทัศน์ระยะยาว:
ผู้เข้าร่วมประชุมหารือถึงวิสัยทัศน์ระยะยาวในการเป็นที่สุดในภูมิภาคอาเซียนในแง่ของการศึกษาเรื่องความยั่งยืน แต่เห็นพ้องกันว่าควรมีแผนและเป้าหมายที่ชัดเจน
|