Topic

SET Sustainability Forum 2/2024: สรุปประเด็นจากงาน และรับชมย้อนหลัง

ที่มาของการจัดงาน

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดย SET ESG Academy จัดงาน SET Sustainability Forum เป็นประจำทุกปี 

โดยในแต่ละปี จัดขึ้นทั้งหมด 2 ครั้งด้วยกัน

  • ครั้งที่ 1 (Q1) เพื่อนำเสนอ ESG Trends ที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ การปรับตัว และการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการตัดสินใจลงทุน ซึ่งเราเชื่อว่า เป็นความท้าทายที่คณะกรรมการ ตลอดจนผู้บริหารควรเข้าใจและให้ความสำคัญในการบริหารกำกับองค์กร และกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจและการลงทุน
  • ครั้งที่ 2 (Q2/3) เพื่อนำเสนอ ESG in Practice การเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้กลายเป็นนโยบาย กระบวนการ แนวทางการดำเนินธุรกิจและผลกระทบเชิงบวกทั้งต่อตัวธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสียรอบด้าน โดยมุ่งหวังให้ภาคธุรกิจไทยมีความทัดเทียมสากล มีความเข้าใจ How-To เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ตลอดจนโอกาสแก่ภาคการลงทุน ต่อไป  

ปี 2023 

1) LINK: SET Sustainability Forum 1/2023: Comprehending Key Changes for Leaders in a Disrupted World

2) LINK: SET Sustainability Forum 2/2023: From Sustainability Ambitions… to Actions

ปี 2024

1) LINK: Sustainability Forum 1/2024: Grounding Greater Governance for Good

2) Sustainability Forum 2/2024: Scaling up Synergies and Solutions for Net-Zero’ 

  •  รับชมย้อนหลัง ได้ที่ LINK NEW!
  • Download เอกสารประกอบ ได้ที่ LINK NEW!

สรุปประเด็นจากงาน

 

"ตลท.ดึงกูรูรัฐ-เอกชน ชี้แนวทางธุรกิจเดินหน้า
สู่เป้าหมาย Net Zero อย่างยั่งยืน"

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดงาน SET Sustainability Forum 2/2024 ในหัวข้อ  “Scaling up Synergies and Solutions for Net- Zero” ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย วันที่ 18 มิถุนายน 67 ที่ผ่านมา โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญภาครัฐ-เอกชน ร่วมแชร์ประสบการณ์ นำเสนอแนวทางและกลไกสำคัญเพื่อขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย Net Zero อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมผลักดันธุรกิจในตลาดทุนไทยเดินหน้าสู่ความยั่งยืน เตรียมความพร้อมเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงและความท้าทายในยุควิกฤตโลกรวนรุนแรง

 .

แนวทางจัดการวิกฤตโลกรวนและมุ่งสู่ Net-Zero
(Solutions for Net-Zero)  

ตลาดหลักทรัพย์ฯ มองว่ามี 2 ปัจจัยสำคัญที่ทุกธุรกิจ โดยเฉพาะ MSMEs และผู้ประกอบการรายย่อยควรตระหนักและเริ่มเตรียมความพร้อมรับโอกาสต่าง ๆ 

  1. โครงสร้างการบริหารจัดการความเสี่ยง (Greater Governance) ที่แข็งแกร่ง มีกลไกการกำกับดูแลที่น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ และพัฒนาให้เข้ากับบริบทขององค์กรอยู่เสมอ 
  2. ความสามารถในการรับมือความไม่แน่นอน (Resilience) ความพร้อมขององค์กรที่จะยืนหยัดและลุกขึ้นใหม่ในทุกครั้งๆ ที่ล้มลง เพื่อก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนเสมอ

โดยภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนไทย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และตลาดทุน ได้ร่วมกันเร่งพัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (Synergies) เพื่อผลักดันการเดินหน้าตามแนวทางวิทยาศาสตร์ (Science-based) เข้าสู่เป้าหมาย Net Zero อย่างเป็นรูปธรรม ท่ามกลางความไม่แน่นอนและกฎระเบียบที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ โดยมุ่งพํัฒนาแนวทาง (Solutions)  2 ด้าน คือ

  1. Enabling Environment   "สร้างระบบนิเวศการดำเนินธุรกิจที่มั่นคงและยั่งยืน" รวมถึงเครื่องมือและการสนับสนุนอื่น ๆ สำหรับการเปลี่ยนผ่านและรับมือความท้าทายทั้งในปัจจุบันและอนาคต
  2. Uplifting ESG Data Quality and Integrity  "ยกระดับข้อมูล ESG ให้มีคุณภาพมาตรฐานโลก" เพื่อใช้ในการลงทุนซึ่งการมีข้อมูลที่โปร่งใส เชื่อถือได้ จะช่วยทำให้เกิดความมั่นใจกับนักลงทุนในระยะยาว

“ผมมองว่าก้าวแรกนั้นยากเสมอ แต่ถ้าเกิดเป็นก้าวที่เรามีจุดมุ่งหมายชัดเจนและใส่ใจรอบด้าน
มีการผสานงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะเป็นก้าวที่มีความหมาย
ก้าวต่อไปก็จะเป็นก้าวที่มีโอกาส เพราะถ้าเราเริ่มก้าวแล้ว เราก็จะเริ่มเห็นโอกาสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งเมื่อมีก้าวแรกและก้าวที่สองแล้ว ก็หวังว่าเราจะก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน"
ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวทิ้งท้ายและเปิดงานฯ


การใช้ประโยชน์จากกลไกการเงินเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ตามที่ระบุไว้ในความตกลงปารีส
(Leveraging Market-based Mechanisms, under the Paris Agreement, towards Net Zero Target)

ในความตกลงปารีส (Paris Agreement) มาตราที่ 6 ได้ระบุถึง 

ความสำคัญของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนห้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแปรปรวนทางธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นเพียงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของระบบเศรษฐกิจ แต่คือผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ และหากภาคธุรกิจมีการดำเนินการอย่างยั่งยืน และใส่ใจรอบด้านอยู่เสมอ
จะสามารถบรรเทาความเสี่ยง และปลดล็อกโอกาสใหม่ ๆ เพื่อสร้างการเติบโตและขีดความสามารถการแข่งขันได้

อย่างไรก็ตาม บนเส้นทางสู่ Net Zero สิ่งสำคัญที่ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็น (Corporates' Key Component) เพื่อดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์  มีดังนี้

  1. มีระบบกำกับดูแลความเสี่ยงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Governance) ที่ใช้แนวทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ (Science-based) ในทุกระดับตั้งแต่ระดับองค์กร ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศและระดับโลก
  2. ใช้เครื่องมือ/กลไกที่เชื่อถือได้ที่มีอยู่ (Evidence-based Solutions) เพื่อจัดการกับวิกฤต
  3. มีการสื่อสารอย่างโปร่งใส มีการรายงานและเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ตรวจสอบได้

 

นอกจากนี้ในความตกลงปารีสยังระบุถึงแนวทางที่แต่ละประเทศสามารถร่วมมือกันเพื่อแก้วิกฤตซึ่งแนวทางที่ถูกพูดถึงกันมากที่สุด คือ   
"Paris Agreement Crediting Mechanism (PACM) - the UN’s new high-integrity carbon crediting mechanism"

-- ซึ่งเป็นแนวทางให้ประเทศต่าง ๆ สามารถแลกเปลี่ยน ซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่ได้รับจากการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยให้ประเทศคู่ค้าหรืออื่น ๆ บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

.

โดย The Integrity Council for Voluntary Carbon Market ได้ออก 'หลักการของกลไกตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ'ในชื่อ 'The Core Carbon Principles (CCPs)' ประกอบไปด้วยหลักการทั้งหมด 10 ข้อ เพื่อเป็นกรอบการทำงานสำหรับการซื้อขายคาร์บอนที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ สร้างผลกระทบเชิงบวก และเร่งการดำเนินการด้าน Climate Action สู่เป้าหมาย Net Zero ได้จริงตามแนวทางวิทยาศาสตร์ (Science-based) โดยมีการลงทะเบียนโครงการภายใต้กลไกดังกล่าว

ทั้งนี้ มาตรา 6 เปิดโอกาสมากมายให้กับภาคเอกชน/องค์กร สามารถมีส่วนร่วมในตลาดคาร์บอนที่มีความน่าเชื่อถือสูง (High Integrity Carbon Markets) มีการลงทุนในโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายระดับชาติด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศเจ้าภาพ (Host Country)

 

The 10 Core Carbon Principles launched by ICVCM

 

และหากมองลึกลงไปถึงมาตรา 6.4 ภายใต้ความตกลงปารีส มีการระบุถึงแนวทางอย่างเป็นระบบสำหรับภาคธุรกิจที่ต้องการมีส่วนร่วมด้านการจัดการวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลก และต้องการมั่นใจว่าการมีส่วนร่วมดังกล่าวได้รับการยอมรับและสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างแท้จริง อาทิ

ความน่าเชื่อถือสูง (High Integrity) : องค์ประกอบที่สำคัญมากสำหรับตลาดคาร์บอน และเพื่อให้กลไกตลาดคาร์บอนมีประสิทธิภาพสูงสุด สร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ถึงความโปร่งใสของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น โดยธุรกิจต้องมุ่งมั่นกับการเปิดเผยข้อมูลและการทำรายงานที่โปร่งใส ตรงไปตรงมาและสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพของข้อมูลด้านความยั่งยืน ความเชื่อมั่นต่อธุรกิจ ตลอดจนความน่าเชื่อถือในภาพรวม และนำไปสู่ความสำเร็จของตลาดคาร์บอนระหว่างประเทศ


Road to COP 29: Innovative (Climate/Finance) Solutions

ทั้งนี้ที่ประชุมว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ The 2024 UN Climate Change Conference (UNFCCC COP 29) ที่มีกำหนดจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ปี 2024 ณ กรุง Baku ประเทศ Arzerbaijan จะเปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ นำเสนอและแถลงความคืบหน้า (Progress) และยืนยันความมุ่งมั่นของแต่ละประเทศผ่านการนำเสนอการมีส่วนร่วมที่ประเทศนั้น ๆ กำหนดขึ้นใหม่ (New Nationally Determined Contributions: NDCs) Version 3.0

.

“เราคาดหวังว่าจะมีการหารือเกี่ยวกับความก้าวหน้าของกลไกภายในมาตรา 6
พร้อมกับเน้นรายละเอียดการดำเนินการและมาตรฐานความน่าเชื่อถือ (Integrity Standards)
ความพยายามเหล่านี้มีความสำคัญขณะที่เรากำลังจะยื่น NDC 3.0 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 และ
การใช้กลไกนี้จะสร้างประโยชน์ และถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ระดับประเทศ
อย่างไรก็ตาม การนำไปปฏิบัติจะไม่เกิดขึ้น หากไม่มีวิธีการดำเนินการอย่างแท้จริง ซึ่งหมายความว่า
การเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Finance) จะเป็นหัวใจของการหารือทั้งหมด เพราะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะใช้จัดการกับปัญหาตามกับคำมั่นสัญญาต่างๆ ที่เคยกล่าวไว้”

.

นอกจากนี้การเพิ่มเงินทุนเพื่อการปรับตัว (Adaptation Fund) และการเปลี่ยนผ่านรับมือภาวะโลกเดือด (Transitioning Fund) ก่อนปี 2030 เป็นอีกหัวข้อสำคัญในการประชุม COP29 ในปีนี้ โดย Clean Development Mechanism: CDM ตามมาตราที่ 12 ภายใต้พิธีสารเกียวโต เคยเป็นแหล่งทุนสำคัญในประเด็นดังกล่าวฯ โดยมีใจความสำคัญว่า

 
'หากประเทศสมาชิกใดมีข้อจำกัดด้านการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ/หรือข้อจำกัดด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สามารถจัดทำและพัฒนาโครงการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนาได้
ซึ่งจะได้รับเครดิตเพื่อชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศของตนเอง' 

โดย K. James Grabert, Director – Mitigation Division, UNFCCC กล่าวทิ้งท้ายว่า 

"การใช้มาตรา 6 แสดงให้เห็นว่าตลาดคาร์บอนมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการปรับตัวภายในข้อตกลงปารีส
การเดินทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนต้องการความพยายามร่วมกันของทุกฝ่ายในภาคเอกชน
ที่มีความพร้อมด้านแหล่งเงินทุน มีการปรับตัวของตลาดอย่างคล่องแคล่ว และมีความสามารถด้านนวัตกรรม ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง"


ผู้เชี่ยวชาญย้ำเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต้องตั้งบนหลักการวิทยาศาสตร์
ตามความตกลงปารีส 

K. Jens Radschinski Regional Expert on Art.6 to support the implementation of the Paris Agreement จากศูนย์ความร่วมมือระหว่าง UNFCCC/IGES ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค ระบุว่า  

"ตอนที่มีการลงนามในความตกลงปารีส เราอยู่ในช่วงที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น 16% (2016)
แต่เราจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 28% * ในปี 2030 เพื่อให้บรรลุความตกลงดังกล่าวฯ ที่ต้องการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 42% * หากต้องการให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส” 

*(เทียบกับปีฐาน 2016)


ความสำคัญของตลาดคาร์บอน

ปัจจุบันมีการระบุเป้าหมายการมีส่วนร่วมใหม่ที่ประเทศกำหนดเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (new Nationally Determined Contributions :NDCs) แต่มีการคาดการณ์ว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 จะเพิ่มขึ้น 3% และแม้จะดำเนินการตามเป้าหมาย NDCs แบบไม่มีเงื่อนไขอย่างเต็มที่ ก็ยังทำให้อุณหภูมิโลกเฉลี่ยในศตวรรษนี้เพิ่มขึ้น 2.9 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่หากดำเนินการตาม NDCs แบบมีเงื่อนไขอย่างเต็มที่ก็จะทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม

 

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า นับตั้งแต่มีการลงนามข้อตกลงปารีส มีความคืบหน้าบางอย่างเกิดขึ้นแต่เป็นไปอย่างช้ามากๆ และยังห่างจากเป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียสมาก การจะบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีสและวาระการพัฒนา 2030 (Agenda 2030) ต้องอาศัยการลงทุนทางการเงินมหาศาล โดยปัจจุบัน มีการประเมินว่า ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องใช้เงินรวมกันอย่างน้อย 5.8-5.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย NDCs

 

ตลาดคาร์บอนถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายและลดต้นทุนการดำเนินการตามเป้าหมาย NDCs และจะทำให้เข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้นเรื่อยๆ และมาตรา 6 ในข้อตกลงปารีสมีการแนะนำให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยใช้ประโยชน์จากตลาดคาร์บอน

 

มาตรา 6 ระบุว่า ตลาดคาร์บอนเป็นระบบซื้อขายคาร์บอนเครดิต โดยทั่วไปมักจะใช้หน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์ หรือเทียบเท่า จะเท่ากับ 1 คาร์บอนเครดิต 

 

การเงินคาร์บอน (Climate Finance) ที่ระบุในมาตรา 6 มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการตามเป้าหมาย NDCs และ 83% ของประเทศที่ยื่น NDCs แล้วได้แสดงเจตนารมย์ที่จะใช้ตลาดคาร์บอนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นจึงมีประเทศต่างๆ สนใจใช้ตลาดคาร์บอนมากขึ้น

 

ประเภทของตลาดคาร์บอน

ตลาดคาร์บอนไม่ได้หมายถึงตลาดเดี่ยวๆ แต่มีองค์ประกอบต่างๆ รวมกันเป็นตลาดคาร์บอนระดับนานาชาติ สามารถแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้

  • ตลาดคาร์บอนแบบสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) เป็นตลาดคาร์บอนที่มีองค์กรหรือบุคคลกำหนดเป้าหมาย Net Zero หรือเป้าหมาย Climate Neutral ของตัวเอง และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการใช้คาร์บอนเครดิตที่ถูกควบคุมโดยองค์กรระหว่างประเทศ มีมาตรฐานคาร์บอนอิสระ ผู้ซื้อคาร์บอนเครดิตคือองค์กรหรือบุคคล โดยยูนิตของคาร์บอนเครดิตจะเป็นเครดิตตามความสมัครใจ
  • ตลาดคาร์บอนแบบบังคับ (Compliance Market) เป็นตลาดคาร์บอนเพื่อการบรรลุเป้าหมาย NDCs ภายในประเทศ มีเครื่องมือกำหนดราคาภาคบังคับ (ภาษีคาร์บอน, ETS และอื่นๆ) มีบริษัทที่อยู่ภายใต้เครื่องมือดังกล่าว และมีเป้าหมายภาคบังคับ และจะได้รับสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะภายใต้ ETS โดยสามารถใช้คาร์บอนเครดิตจากโครงการอื่นๆ เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตัวเอง
  • ตลาดคาร์บอนมาตรา 6 ถูกออกแบบสำหรับประเทศที่ต้องการบรรลุเป้าหมาย NDCs แบบร่วมมือกัน มีการใช้ผลการลดก๊าซเรือนกระจกที่ถ่ายโอนกันระหว่างประเทศ (Internationally Transferred Mitigation Outcomes: ITMOs) โดยเริ่มแรกมีการออกแบบตลาดคาร์บอนในมาตรา 6 เพื่อให้นานาชาติร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมาย NDCs แต่ปัจจุบันสามารถใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย NDCs และมีหน้าที่ในตลาดคาร์บอนโดยสมัครใจด้วย ดังนั้นในความเป็นจริงแล้วมาตรา 6 เป็นองค์ประกอบที่ครอบคลุมตลาดคาร์บอนทั้งสองรูปแบบ

บทบาทของประเทศและองค์กรที่ไม่ใช่รัฐในการบรรลุเป้าหมาย Net Zero

ประเทศต่างๆ ควรมีบทบาทเป็นผู้นำในการแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศด้วยการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย NDCs แต่ขณะเดียวกันองค์กรที่ไม่ใช่รัฐก็มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการมีส่วนร่วมพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 ทั้งนี้ เลขาธิการสหประชาชาติได้จัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญระดับสูงแห่งสหประชาชาติว่าด้วยคำมั่นสัญญา Net Zero ขององค์กรที่ไม่ใช่รัฐ (United Nations’ High-Level Expert Group on the Net Zero Emissions Commitments of Non-State Entities) การริเริ่มนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างมาตรฐานที่ดี เข้มแข็ง และชัดเจนมากขึ้นสำหรับการดำเนินการตามคำมั่นเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคธุรกิจ นักลงทุน เมือง และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ

 

“นี่ถือเป็นก้าวสำคัญเพราะเราอยู่กับตลาดคาร์บอนมานาน 15-20 ปี และยังมีจุดอ่อนบางอย่างหากไม่ได้รับการควบคุมอย่างเหมาะสม สิ่งที่เราเข้าใจและความน่าเชื่อถือ (Integrity) ในตลาดอาจถูกมองในมุมแตกต่างกันจากคนแต่ละคน ดังนั้นการริเริ่มนี้สร้างมาตรฐานเดียวกันสำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก”

 

 Jens กล่าวว่า เป้าหมายของการริเริ่มนี้ คือ ความน่าเชื่อถือในตลาดคาร์บอน การใช้คาร์บอนเครดิตเพื่อสร้างผลกระทบสุทธิเชิงบวก โดยหนึ่งในพื้นฐานสำคัญคือ เมื่อมีการเทรดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือการลดผลกระทบควรจะทำให้เกิดสมดุลเชิงบวกหรือมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น เมื่อเทียบกับการไม่มีตลาดคาร์บอน ทั้งนี้ คุณภาพของคาร์บอนเครดิตเป็นอีกประเด็นที่ต้องสนใจ เพราะมาตรฐานที่ใช้แตกต่างกัน และมาตรการทุกอย่างไม่ได้มีบรรทัดฐานและองค์ประกอบต่างๆ ที่เข้มงวดเหมือนกัน ดังนั้นจึงอาจมีประเด็นที่ต้องพิจารณา เช่น ความโปร่งใส (Transparency) การสามารถตรวจสอบได้ (Accountability) การมีส่วนร่วมของประเทศเจ้าภาพ (Host Country)

 

“มาตรฐานนานาชาติอิสระบางมาตรฐานไม่ได้ต้องการการมีส่วนร่วมของประเทศเจ้าภาพ  ไม่ได้ระบุว่ามีการกำหนดบรรทัดฐานอย่างไร มีการวัดประเมินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างไร อีกทั้งยังมีเรื่องการฟอกเขียว (Greenwashing) และการกล่าวอ้างที่ไม่ได้ยืนยันด้วยข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจริงๆ ความน่าเชื่อถือของตลาดคาร์บอนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และมีการริเริ่มรวมถึงกำหนดกฎข้อบังคับต่างๆ เพื่อเรียกความเชื่อไว้วางใจบางส่วนกลับคืนมา โดยต้องยอมรับว่า ตลาดคาร์บอนอาจสูญเสียความน่าเชื่อถือไปบ้างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และมาตรฐานใหม่ต้องการสร้างตลาดคาร์บอนที่มีคุณภาพสูง”

 

มาตรา 6 กำหนดการมีส่วนร่วมขององค์กรที่ไม่ใช่รัฐ

 Jens กล่าวต่อว่า มาตรา 6 เป็นมาตราเดียวในข้อตกลงปารีสที่มีเป้าหมายพิเศษเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนต่อเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใน NDCs โดยในมาตรา 6 มีรายละเอียดปลีกย่อย ได้แก่ มาตรา 6.2 เป็นกลไกที่ทำให้ประเทศร่วมมือกัน ตัวอย่างที่ดีคือ ไทยเป็นประเทศแรกๆ ที่ใช้มาตรา 6.2 ในโครงการรถเมล์ไฟฟ้าไทย-สวิตเซอร์แลนด์ เป็นการร่วมมือโดยตรงระหว่างประเทศ โดยภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ นอกจากนี้ ยังมีกลไกภายในมาตรา 6.4 ซึ่งเป็นกลไกคาร์บอนเครดิตที่คล้ายคลึงกับกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ภายใต้พิธีสารเกียวโต

 

อย่างไรก็ตาม แม้มีการกล่าวถึงกลไกในมาตรา 6.4 ในการประชุม COP28 ที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ไม่ได้มีผลลัพธ์ใดๆ ออกมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีการหารืออย่างเข้มข้นในบางประเด็น เช่น โครงการกระบวนการกำจัดคาร์บอน (Carbon Removal) และต้องติดตามต่อไปในการประชุม COP29 ที่เมือง Baku ประเทศอาเซอร์ไบจานในสิ้นปีนี้ และหวังว่าในที่สุดประเทศต่างๆ จะเห็นชอบการนำไปปฏิบัติ เพราะเราจำเป็นต้องมีแนวปฏิบัติสำหรับพัฒนาหลักการในการดำเนินโครงการ เพื่อจะได้เริ่มทำโครงการใหม่ๆ โดยตอนนี้มี 82 ประเทศที่ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับประเทศ (designated national authorities) เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับมาตรา 6.4 และมี 2 ประเทศระบุความรับผิดชอบของการมีส่วนร่วมแล้ว ดังนั้น จำเป็นต้องมีอีกหลายประเทศเข้ามาร่วมในส่วนนี้

 

นอกจากนี้ ยังมีกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) ที่มีการยื่นสำหรับการเปลี่ยนผ่านภายใต้ PACM (Paris Agreement Crediting Mechanism) โดยหลังจากประเทศเจ้าภาพเห็นชอบการถ่ายโอน ก็จะเกิดโครงการแรกในมาตรา 6.4 อย่างแท้จริง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้นับจากนี้ไปจนถึงสิ้นปีนี้

 

มาตรฐานตามมาตรา 6.4 สอดคล้องกับกฎระเบียบในข้อตกลงปารีสและกลาสโกว์ และจะเป็นมาตรฐานระดับโลกสำหรับบรรทัดฐานและมาตรฐานกลไกเครดิต โดย SBM ซึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบกลไกนี้จะทำงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตาม PACM ต่อไป ซึ่งรวมถึงการพัฒนามาตรฐาน แนวปฏิบัติ และเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้มีการอนุมัติหลักการสำหรับมาตรา 6.4 และการจดทะเบียนโครงการใหม่ของมาตรา 6.4 โดยไม่ล่าช้า ซึ่งหวังว่าจะดำเนินการได้ภายในปีนี้หรือต้นปี 2025

 

ประโยชน์ของการเข้าร่วม PACM (มาตรา 6.4)

นี่คือกลไกภายใต้ข้อตกลงปารีส ซึ่งได้รับการยอมรับสูงสุดในระดับนานาชาติ มีบทบัญญัติที่เข้มแข็งเกี่ยวกับความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Integrity) การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Input) มีการสนับสนุนเงินทุนแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อลดผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ประเทศเจ้าภาพอาจมีรายได้ร่วมจากการดำเนินกิจกรรมเพื่อการปรับตัว โดยเครดิตที่ได้จากกลไกนี้สามารถใช้เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศได้ หรือใช้โดยตรงสำหรับการบรรลุเป้าหมาย NDCs ของประเทศเจ้าภาพก็ได้ ดังนั้น หากประเทศไทยมีโครงการภายใต้มาตรา 6.4 และไม่ได้โอนเครดิตให้ประเทศอื่น ก็สามารถใช้เครดิตดังกล่าวสำหรับเป้าหมาย NDCs ของไทยได้

 

 Jens กล่าวว่า เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้จัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญระดับสูงแห่งสหประชาชาติว่าด้วยคำมั่นสัญญา Net Zero ขององค์กรที่ไม่ใช่รัฐ (United Nations’ High-Level Expert Group on the Net Zero Emissions Commitments of Non-State Entities) เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติที่แข็งแกร่งมากขึ้น โดยมีความชัดเจนว่าจะไม่ยอมรับการฟอกเขียว Net Zero เด็ดขาด และเน้นย้ำให้ความสำคัญกับความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม การสามารถตรวจสอบได้ และบทบาทของรัฐบาล โดยคณะผู้เชี่ยวชาญฯ ได้กำหนดหลักการสำหรับการใช้คาร์บอนเครดิตแบบสมัครใจ และยังเดินหน้าหารืออย่างเข้มข้นว่าควรจะใช้คาร์บอนเครดิตที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร  ทั้งนี้ การซื้อคาร์บอนเครดิตโดยองค์กรที่ไม่ใช่รัฐแสดงให้เห็นว่าภาคธุรกิจ เมืองต่างๆ มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เร็วยิ่งขึ้น และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย รวมถึงทำให้เห็นว่าคาร์บอนเครดิตมีบทบาทสำคัญ

 

“เราต้องนิยามมาตรฐานของความน่าเชื่อถือ และการกล่าวอ้าง (Claims) ให้ชัดเจน เพราะหากไม่ชัดเจนมากพอ ธุรกิจอาจกล่าวอ้างว่า มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) แต่เมื่อพิจารณาอย่างถ้วนถี่แล้วอาจเห็นได้ว่าขาดความน่าเชื่อถือในแง่ของเครดิตหรือโครงการก็ได้ สิ่งสำคัญมากๆ คือ การใช้คาร์บอนเครดิตจะต้องไม่เสี่ยงทำให้เกิดการชะลอการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออก แต่ควรเป็นใช้เป็นส่วนเสริมกลยุทธ์ Net Zero มากกว่า”

 

คำแนะนำการใช้คาร์บอนเครดิตเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero

เขายังแนะนำว่า สิ่งสำคัญอันดับแรกคือ  การเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมากในห่วงโซ่คุณค่า และก่อนจะใช้คาร์บอนเครดิต ควรพิจารณาโอกาสที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยตัวเองก่อน ขณะเดียวกันควรใช้คาร์บอนเครดิตที่มีความน่าเชื่อถือสูง (High Integrity Carbon Credits) ในตลาดแบบสมัครใจสำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนอกเหนือห่วงโซ่คุณค่า หรือหมายความว่าให้ใช้คาร์บอนเครดิต เมื่อได้กำหนดเส้นทางสู่เป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน (Neutrality) ภายในปี 2050 ที่ไม่จำเป็นต้องบรรลุเป้าหมายภายใน 1-2 ปี แต่เป็นเส้นทางในระยะยาว สามารถปรับเปลี่ยนมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทุกปี และมีเวลา 10-20 ปีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยในส่วนที่นอกเหนือเส้นทางดังกล่าวที่ไม่สามารถลดได้ก็สามารถใช้คาร์บอนเครดิตได้ และยังเป็นส่วนเสริมสำหรับการระดมเงินสำหรับโครงการอื่นได้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นกลไกสำหรับหาเงินทุนสนับสนุนได้

 

สำหรับการพัฒนาโครงการเพื่อคาร์บอนเครดิต แนะนำให้เลือกใช้มาตรฐานที่สร้างผลลัพธ์เชิงบวกทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ควรพิจารณาให้มั่นใจว่าคนและชุมชนท้องถิ่นได้รับการเคารพและคุ้มครองอย่างดีเสมอ ควรมีการรายงานอย่างโปร่งใสว่ามีการใช้การกล่าวอ้าง (Claims) อย่างไร และเป็นการใช้สำหรับ NDC ของประเทศ หรืออยู่ภายใต้การโอนเครดิตระหว่างประเทศ เพื่อให้ชัดเจนว่าไม่มีความเสี่ยงที่จะมีการนับซ้ำหรือการกล่าวอ้างซ้ำ

 

นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับโครงการที่มองถึงความจำเป็นของมนุษย์ ความจำเป็นของภาคส่วนที่ต้องการสนับสนุน เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ การฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม การสนับสนุนโครงการเทคโนโลยีใหม่ เป็นต้น


ประเทศไทย: เป้าหมาย NDC และกลไกลดก๊าซเรือนกระจกใน (ร่าง) พ.ร.บ. Climate Change (กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม)

  • เครื่องมือและกลไกภาครัฐในการไปสู่เป้าหมาย  Net Zero (กรม Climate)
    • การตั้งเป้า NDCs ลด GHGs 40% ใน 2030
    • พ.ร.บ. Climate Change
    • การปรับโครงสร้างเชิงสถาบัน: ตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม + การเข้าถึงแหล่งเงินทุน Climate Fund ต่าง ๆ
    • การพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนภายในประเทศ
    • การจับมือร่วมกับประเทศคู่ค้าต่าง ๆ เช่น ประเทศสิงคโปร์ 

 

Pathway to Net Zero (อบก.)

  • เครื่องมือ/กลไกสนับสนุนสรุปตาม Pathway to Net Zero
    • จัดทำ Science-based Net Zero Pathway ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย SBTi การคำนวน CFO และการจัดทำแนวทางการลด ปรับตัว ชดเชย โดยอิงตามมาตรฐานไทยและสากล  

 

พัฒนาระบบนิเวศตลาดทุนสู่ความยั่งยืน

  • เครื่องมือ/กลไกภาคตลาดทุน พัฒนาระบบนิเวศการทำธุรกิจสู่ตลาดทุนส่คูความยั่งยืน (ก.ล.ต.)
    • ธุรกิจต้องโปร่งใส ต้องสร้างกำไร และต้องสร้างผลกระทบเชิงบวก
      • ต้องโปร่งใส: เปิดเผยข้อมูลผลกระทบด้าน ESG ผ่าน One Report
      • ต้องสร้างกำไร: ออกคู่มือให้ผู้ลงทุนนำปัจจัย ESG ประกอบการทำบทวิเคราะห์และการตัดสินใจลงทุน
      • ต้องสร้างผลกระทบเชิงบวก 

 

(TO BE CONTINUED)

ทยุต สิริวรการวณิชย์ 
SET ESG Academy
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย