Topic

SET Sustainability Forum 2/2024: สรุปประเด็นจากงาน และรับชมย้อนหลัง

Sustainability Forum 2/2024: Scaling up Synergies and Solutions for Net-Zero’ 


สรุปประเด็นจากงาน

"ตลท.ดึงกูรูรัฐ-เอกชน ชี้แนวทางธุรกิจเดินหน้า
สู่เป้าหมาย Net Zero อย่างยั่งยืน"

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดงาน SET Sustainability Forum 2/2024 ในหัวข้อ  “Scaling up Synergies and Solutions for Net- Zero” ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย วันที่ 18 มิถุนายน 67 ที่ผ่านมา โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญภาครัฐ-เอกชน ร่วมแชร์ประสบการณ์ นำเสนอแนวทางและกลไกสำคัญเพื่อขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย Net Zero อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมผลักดันธุรกิจในตลาดทุนไทยเดินหน้าสู่ความยั่งยืน เตรียมความพร้อมเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงและความท้าทายในยุควิกฤตโลกรวนรุนแรง

 .

แนวทางจัดการวิกฤตโลกรวนและมุ่งสู่ Net-Zero
(Solutions for Net-Zero
)

ตลาดหลักทรัพย์ฯ มองว่ามี 2 ปัจจัยสำคัญที่ทุกธุรกิจ โดยเฉพาะ MSMEs และผู้ประกอบการรายย่อยควรตระหนักและเริ่มเตรียมความพร้อมรับโอกาสต่าง ๆ 

  1. โครงสร้างการบริหารจัดการความเสี่ยง (Greater Governance) ที่แข็งแกร่ง มีกลไกการกำกับดูแลที่น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ และพัฒนาให้เข้ากับบริบทขององค์กรอยู่เสมอ 
  2. ความสามารถในการรับมือความไม่แน่นอน (Resilience) ความพร้อมขององค์กรที่จะยืนหยัดและลุกขึ้นใหม่ในทุกครั้งๆ ที่ล้มลง เพื่อก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนเสมอ

โดยภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนไทย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และตลาดทุน ได้ร่วมกันเร่งพัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (Synergies) เพื่อผลักดันการเดินหน้าตามแนวทางวิทยาศาสตร์ (Science-based) เข้าสู่เป้าหมาย Net Zero อย่างเป็นรูปธรรม ท่ามกลางความไม่แน่นอนและกฎระเบียบที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ โดยมุ่งพํัฒนาแนวทาง (Solutions)  2 ด้าน คือ

  1. Enabling Environment   "สร้างระบบนิเวศการดำเนินธุรกิจที่มั่นคงและยั่งยืน" รวมถึงเครื่องมือและการสนับสนุนอื่น ๆ สำหรับการเปลี่ยนผ่านและรับมือความท้าทายทั้งในปัจจุบันและอนาคต
  2. Uplifting ESG Data Quality & Integrity  "ยกระดับข้อมูล ESG ให้มีคุณภาพมาตรฐานโลก" เพื่อใช้ในการลงทุนซึ่งการมีข้อมูลที่โปร่งใส เชื่อถือได้ จะช่วยทำให้เกิดความมั่นใจกับนักลงทุนในระยะยาว

“ผมมองว่าก้าวแรกนั้นยากเสมอ แต่ถ้าเกิดเป็นก้าวที่เรามีจุดมุ่งหมายชัดเจนและใส่ใจรอบด้าน
มีการผสานงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะเป็นก้าวที่มีความหมาย
ก้าวต่อไปก็จะเป็นก้าวที่มีโอกาส เพราะถ้าเราเริ่มก้าวแล้ว เราก็จะเริ่มเห็นโอกาสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งเมื่อมีก้าวแรกและก้าวที่สองแล้ว ก็หวังว่าเราจะก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน"

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวทิ้งท้ายและเปิดงานฯ

อย่างไรก็ตาม บนเส้นทางสู่ Net Zero สิ่งสำคัญที่ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็น (Corporates' Key Component) เพื่อดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์  มีดังนี้

  1. มีระบบกำกับดูแลความเสี่ยงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Governance) ที่ใช้แนวทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ (Science-based) ในทุกระดับตั้งแต่ระดับองค์กร ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศและระดับโลก
  2. ใช้แนวทางตามหลักวิทยาศาสตร์(Science-based) หรือหลักการที่เชื่อถือได้(Evidence-based) เพื่อจัดการกับวิกฤต
  3. มีกาสื่อสารอย่างโปร่งใส มีการรายงานและเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ตรวจสอบได้

ผู้เชี่ยวชาญย้ำ เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ต้องตั้งบนหลักการวิทยาศาสตร์
(Science-based) ตามความตกลงปารีส 

K. Jens Radschinski Regional Expert on Art.6 to support the implementation of the Paris Agreement จากศูนย์ความร่วมมือระหว่าง UNFCCC/IGES ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค ระบุว่า  

"ตอนที่มีการลงนามในความตกลงปารีส เราอยู่ในช่วงที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น 16% (2016)
แต่เราจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 28% * ในปี 2030 เพื่อให้บรรลุความตกลงดังกล่าวฯ ที่ต้องการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 42% * หากต้องการให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส” 

*(เทียบกับปีฐาน 2016)

ซึ่งหมายความว่า ทั้งการตั้งเป้าหมายของทุกภาคส่วน รวมถึงกลยุทธ์ แนวทางการดำเนินการ การพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้อง และอื่น ๆ ควรต้องนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ เพื่อพิสูจน์ว่าการดำเนินการทั้งหลายเหล่านี้ มีส่วนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือลดปริมาณก๊าซฯ ได้จริง มีความโปร่งใสของข้อมูล สามารถวัดในเชิงปริมาณได้ รวมถึงตรวจสอบต้นทางของข้อมูลได้ด้วยเช่นกัน มิใช่การกระทำโดยไม่มีหลักฯ อ้างอิง 


ประเทศไทย: เป้าหมาย NDC และกลไกลดก๊าซเรือนกระจกใน (ร่าง) พ.ร.บ. Climate Change 

โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

  • เครื่องมือและกลไกภาครัฐในการไปสู่เป้าหมาย  Net Zero  
    • การตั้งเป้า NDCs ลด GHGs 40% ใน 2030
    • พ.ร.บ. Climate Change 
      • กลไกของการลดก๊าซเรือนกระจกภาคบังคับ: การรายงานข้อมูล ระบบซื้อขายสิทธิ หรือ Emission Trading Scheme (ETS), ระบบภาษีคาร์บอน (Carbon Tax)

        • การรายงาน มี 2 ส่วน  1. สิ่งที่ภาครัฐมี Mandate จะต้องรายงานกับ UNFCCC เรียกว่า Inventory Greenhouse Gas Emission Report 2. การเพิ่มให้ภาคเอกชนจะต้องรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาให้ทางกรมฯ จากเดิมที่ไม่ต้องรายงานมาก่อน

        • Emission Trading (การบังคับนิติบุคคลบางประเภทให้จำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก: ETS Player) Phase 1 : เน้นกลุ่มที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากในกระบวนการอุตสาหกรรมเป็นหลัก  
        • การเก็บภาษีคาร์บอน ได้หารือกับกรมสรรพสามิตให้มารับผิดชอบการจัดเก็บภาษีคาร์บอน คาดว่าจะจัดเก็บในลักษณะของภาษีสรรพสามิตในช่วงปี 2025  หลังจากนั้นเมื่อกฎหมายออกมาบังคับใช้แล้ว ก็จะไปจัดเก็บในรูปแบบภาษีคาร์บอนต่อไป
    • การปรับโครงสร้างเชิงสถาบัน: ตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม + การเข้าถึงแหล่งเงินทุน Climate Fund ต่าง ๆ
    • การพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนภายในประเทศ
    • การร่วมมือกับประเทศคู่ค้าต่าง ๆ เช่น ประเทศสิงคโปร์ ในประเด็น Climate Change

 

Pathway to Net Zero 

โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) 

  • เครื่องมือ/กลไกสนับสนุนภาครัฐโดยอิงตามแนวทาง Science-based 
    • ตั้งเป้า Net Zero Pathway ต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยตัวเอง ก่อนที่ส่วนที่เหลือไม่เกิน 10% เมื่อเทียบกับการปล่อยก๊าซในปี 2020 โดยจะใช้เรื่องของกลไกตลาด (Market Mechanism) ก็คือเรื่องคาร์บอนเครดิตที่จะต้องมาจากเรื่องการลดของคาร์บอนเครดิต (Reduction) เช่น ใช้โซล่าเซลล์ หรือใช้การกำจัด (Removal) ที่เป็นเรื่องของการปลูกป่ามาชดเชย

    • ต้องประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร หรือ CFO (Carbon Footprint of Organization)  
    • สนับสนุนการตั้งเป้าหมาย Science-based Target
    • สนับสนุนการพัฒนาโครงการด้านความยั่งยืนที่สนับสนุนการดำเนินตามแนวทางสู่ Net Zero
      • มาตรฐาน Standard T-VER และ Premium T-VER 
      • การลดต้นทุนให้กับคนที่เข้ามาร่วมโครงการ
      • สนับสนุนให้คนที่ทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกสามารถที่จะประเมินเรื่องของการลดก๊าซเรือนกระจกออกมาเป็นคาร์บอนเครดิตที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน ถ่ายโอน หรือว่าซื้อขายในตลาดได้ 

 

พัฒนาระบบนิเวศตลาดทุนสู่ความยั่งยืน

โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

  • เครื่องมือ/กลไกภาคตลาดทุน พัฒนาระบบนิเวศการทำธุรกิจสู่ตลาดทุนส่คูความยั่งยืน 
    • ธุรกิจต้องโปร่งใส ต้องสร้างกำไร และต้องสร้างผลกระทบเชิงบวก
      • ต้องโปร่งใส: เปิดเผยข้อมูลผลกระทบด้าน ESG ผ่าน One Report
      • ต้องสร้างกำไร: ออกคู่มือให้ผู้ลงทุนนำปัจจัย ESG ประกอบการทำบทวิเคราะห์และการตัดสินใจลงทุน
      • ต้องสร้างผลกระทบเชิงบวก 
    • Sustainable Finance Ecosystem: Product, Participants, Platform, etc.
      • Products: เพื่อให้บริษัทสามารถมี Fundraising ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน จึงมีเรื่องตราสารความยั่งยืนตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Green Bond หรือ SLB (Sustainability-linked Bond) เพื่อตอบโจทย์สำหรับตัวบริษัทที่ต้องการเทรดตัวเองกับค่าเป้าหมาย  หรือในช่วงที่ ก.ล.ต. ออก SRI Fund และ Thai ESG Fund มีหมุดหมายเพื่อให้ผู้จัดการกองทุนเน้นลงทุนในบริษัทที่มีการจัดการลดก๊าซเรือนกระจก
      • Participant: จึงมีการออกคู่มือให้ทางผู้จัดการลงทุนนำประเด็นเรื่อง Climate มาเป็นปัจจัยหรือประเด็น ESG อื่นๆและนอกจากในผู้ลงทุน ก็ยังมีตัวกลางหรือนายหน้า ซึ่งส่งเสริมในแง่ของการทำบทวิเคราะห์ที่มุ่งเน้นการตอบโจทย์เรื่อง ESG
      • Platform:  ร่วมมือกันกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำ Structured Data  เพื่อช่วยให้บริษัทสามารถทำเป็น E-reporting ได้ในอนาคต

 

การพัฒนา Carbon Ecosystem เพื่อผลักดันระบบนิเวศการทำธุรกิจที่ยั่งยืน

โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เรื่องคาร์บอนจะมองเป็นสองฝั่ง คือ ฝั่งของการการปล่อย + ฝั่งของการดูดกลับ หรือการหลีกเลี่ยงการปล่อย โดยในส่วนของการปล่อย บริษัทจดทะเบียนมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าเป็นโอเปอเรเตอร์ของธุรกิจ และเป็นคนส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ซึ่งหลักการในการดูเรื่องเหล่านี้  บริษัทจดทะเบียนควรจะต้อง

  1. เข้าใจเรื่อง 'ความเสี่ยงและโอกาส (Risk & Opportunities)' ที่กำลังจะมาถึงตัวธุรกิจ
  2. เข้าใจว่า ต้องมี'ข้อมูลพื้นฐาน (baseline) ในการปล่อยก๊าซฯ' ของตนเองและ
  3. เข้าใจเรื่อง 'การจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs Management)'

เครื่องมือ/กลไกสนับสนุนภาคตลาดทุนโดยสร้าง Sustainable Ecosystem

  • ESG Advisory: สนับสนุนและให้คำปรึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (บจ.) สามารถเข้าใจความเสี่ยง เข้าใจการคำนวณ และสามารถเปิดเผยข้อมูลผ่านระบบ One Report ได้ 
  • ESG Knowledge:  SET ESG Academy รวบรวมองค์ความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน มีการทำหลักสูตรอบรม เวิร์คช็อป ให้คำปรึกษาในกระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่การเริ่มต้นทำความเข้าใจแหล่งปล่อยคาร์บอนมีอยู่ตรงไหนบ้าง คำนวณให้ได้ เปิดเผยให้เป็น รวมถึงตั้งเป้าหมายให้ถึง
  • ESG Infrastucture: พัฒนาระบบข้อมูลกลางให้กับบริษัทจดทะเบียน โดยยึดโยงผู้ให้ข้อมูล (บจ.) และผู้ใช้ข้อมูล (ผู้ลงทุน) ผ่าน ESG Data Plaform ขึ้นมา
    • นอกจากนี้และอำนวยความสะดวกยังพัฒนาระบบ SET Carbon ที่เป็นตัวช่วย บริษัทจดทะเบียนในการเก็บข้อมูลและการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านระบบ SET Carbon นี้  ซึ่งคาดว่าระบบจะแล้วเสร็จปลายปี 2567 นี้
  • ESG Solutions: ผลักดันการยกระดับคุณภาพข้อมูล ESG ให้เทียบเท่าระดับโลก รวมถึงใช้กลไก/เครื่องมือทางตลาดเงิน/การลงทุน/การระดมทุน สู่ความยั่งยืน
    • ส่วนของคาร์บอนเครดิต แพลตฟอร์ม (ยังเป็นเรื่องที่กำลังรอเวลาและข้อหารือต่างๆ รวมทั้งรอให้ พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเสร็จสิ้นก่อน) มุ่งยึดโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มากที่สุด เช่น Verifier ที่สามารถมาทวนสอบข้อมูลบนแพลตฟอร์มนี้ได้ ใช้เวลาที่สั้นลง
      • ปีนี้มีโครงการแซนด์บ็อกซ์ มีบริษัทเข้าร่วมประมาณ 20 บริษัท คาดว่าหลังจากที่เรารับความเห็นจากการใช้งานและความต้องการต่าง ๆ ของผู้ทดลองใช้มาแล้ว จะเปิดระบบนี้ให้บริษัทฯ ทุกแห่งสามารถใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 

ต้นทุนทางการเงินสู่เป้าหมาย Net Zero

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development) คาดการณ์ว่า ต้นทุนทางการเงินที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนผ่านบริหารจัดการธุรกิจไปสู่สถานะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้องใช้เงินถึง 5-7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปีเพื่อให้บรรลุตามข้อตกลงปารีสที่จะไม่ให้ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 - 2 องศาเซลเซียส และเมื่อเจาะลึกที่กลุ่มประเทศ ASEAN พบว่า มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงิน 21,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งเม็ดเงินนี้คิดเป็น 5.7% ของ GDP ของประเทศในอาเซียน

ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า ระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ของเอเชียต้องการการลงทุนถึง 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เพื่อให้บรรลุเรื่องการดำเนินการเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น (Adaptation) แต่กลับมีเงินทุนอยู่เพียง 33,300 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น หมายถึงมีเงินเหลือไม่ถึง 1 ใน 3 ของสิ่งที่จำเป็นต้องมี

ทั้งนี้ จากกราฟคาดการณ์ความต้องการลงทุนใน ESG ในกลุ่มของผู้ลงทุนสถาบัน (Institutional Investor) นั้น ให้ความสนใจกับการลงทุนในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เอื้ออาทรต่อสังคม และเป็นการลงทุนในองค์กรที่มีธรรมาภิบาลที่ดี นั้น มีขนาดของกองทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และคาดการณ์ไว้ว่าในปี 2026 มูลค่าของสินทรัพย์ทั้งหมดของ ผลิตภัณฑ์ ESG นั้น น่าจะเกิน 50 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ นี่คือความหวังและเป็นทิศทางความต้องการของนักลงทุนทั่วโลก

 

ความท้าทายหลักของการออกตราสารหนี้ ESG

  • ระบุสินทรัพย์ที่มีสิทธิ์ออกตราสารหนี้  
  • เรื่องความเสี่ยงและต้นทุนเมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับ
  • เรื่องของข้อมูล เรื่องของการรายงาน ซึ่งการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยความร่วมมือและก็ความพยายามของทุกภาคส่วน

ที่ผ่านมาสมาคมตลาดตราสารหนี้ (ThaiBMA) ได้

“เรื่องของความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Risk) เป็นเรื่องใหญ่ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นพลังสำคัญที่จะช่วยกันทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งผมเชื่อว่าสิ่งที่จะทำให้เกิดพลังและสนุกก็คือการที่พวกเราสมัครใจ และตระหนักในความสำคัญของการแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดของการขับเคลื่อน ESG ในองค์กร คือผู้นำ ซึ่งจะต้องมีคือความกล้าที่จะลุกขึ้นมาเผชิญกับปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมนี้ร่วมกัน และนำองค์กรและสังคมของเราให้ช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ไปได้ร่วมกัน”
ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวย้ำก่อนหมดช่วง

 

สรุปประเด็นโดย Sustainable Business Lab 

เรียบเรียงเนื้อหาโดย ทยุต สิริวรการวณิชย์ SET ESG Academy ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 


ที่มาของการจัดงาน

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดย SET ESG Academy จัดงาน SET Sustainability Forum เป็นประจำทุกปี 

โดยในแต่ละปี จัดขึ้นทั้งหมด 2 ครั้งด้วยกัน

  • ครั้งที่ 1 (Q1) เพื่อนำเสนอ ESG Trends ที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ การปรับตัว และการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการตัดสินใจลงทุน ซึ่งเราเชื่อว่า เป็นความท้าทายที่คณะกรรมการ ตลอดจนผู้บริหารควรเข้าใจและให้ความสำคัญในการบริหารกำกับองค์กร และกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจและการลงทุน
  • ครั้งที่ 2 (Q2/3) เพื่อนำเสนอ ESG in Practice การเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้กลายเป็นนโยบาย กระบวนการ แนวทางการดำเนินธุรกิจและผลกระทบเชิงบวกทั้งต่อตัวธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสียรอบด้าน โดยมุ่งหวังให้ภาคธุรกิจไทยมีความทัดเทียมสากล มีความเข้าใจ How-To เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ตลอดจนโอกาสแก่ภาคการลงทุน ต่อไป  

ปี 2023 

1) LINK: SET Sustainability Forum 1/2023: Comprehending Key Changes for Leaders in a Disrupted World

2) LINK: SET Sustainability Forum 2/2023: From Sustainability Ambitions… to Actions

ปี 2024

1) LINK: Sustainability Forum 1/2024: Grounding Greater Governance for Good