Topic
Sustainable Business Development Roadmap: Step 3 พัฒนาต่อยอดความยั่งยืน
โลกปัจจุบันที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นส่งผลให้การทำธุรกิจในยุคนี้ไม่สามารถให้ความสำคัญกับเพียงแค่ตัวเลข “กำไร” ที่บรรทัดสุดท้ายในงบการเงินเพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป หากแต่ธุรกิจต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อาทิ ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม ของธุรกิจด้วย ธุรกิจยุคใหม่จึงหันมาให้ความสำคัญและร่วมดูแลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องบนความรับผิดชอบในวงกว้าง เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแรงให้แก่องค์กรและการเติบโตได้ในระยะยาว
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงได้ออกแบบชุดเส้นทางของการเป็นธุรกิจยั่งยืน หรือ Sustainable Business ที่เรียกว่า "Sustainable Business Development Roadmap" สำหรับธุรกิจขึ้นมา ซึ่งการเดินทางของธุรกิจในเส้นทางนี้จะประกอบด้วย 4 ขั้นตอน เริ่มจาก (1) การวางรากฐานความยั่งยืน ต่อด้วย (2) การขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืน (3) การพัฒนาต่อยอด และ (4) การมุ่งสู่ธุรกิจยั่งยืน
บริษัทจดทะเบียนที่ผ่านการวางรากฐานความยั่งยืน และมีการขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืน ของ Sustainability Development Roadmap แล้ว ก็ต้องไม่หยุดนิ่งอยู่เพียงเท่านั้น แต่ควรเดินทางต่อสู่....
ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาต่อยอดความยั่งยืน
โดยการปลูกฝัง DNA ของความยั่งยืนให้กับพนักงาน เพื่อให้มั่นใจว่าการขับเคลื่อนความยั่งยืนที่มีวัฒนธรรมของการทำงานซึ่งสอดคล้องกับ ESG จะมีความแข็งแกร่ง และเป็นกำลังสนับสนุนที่สำคัญให้แก่องค์กร นอกจากนี้ บริษัทต้องมีกลยุทธ์ที่ดีในการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เพื่อเป็นการยกระดับความเชื่อมั่นในธุรกิจที่มีต่อผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสีย อันจะเป็นการเพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้กับองค์กร อีกทั้งควรพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ก้าวสู่มาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับ รวมถึงสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถเอื้อให้เกิดคุณค่าต่อสินค้าและบริการ เพื่อยกระดับการทำงานสู่ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน
ในขั้นตอนที่ 3 "การพัฒนาต่อยอดความยั่งยืน" ตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมให้บริการแก่บริษัทจดทะเบียนอย่างต่อเนื่องดังนี้
หลักสูตรเชิงลึก (In-depth Aspects) เจาะประเด็นด้านความยั่งยั่งยืนที่เรียกว่า
ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจยุคใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ทั้งเรื่อง Climate Change ที่อาจส่งผลกระทบต่อการจัดหาทรัพยากรในการผลิต การส่งมอบสินค้าและบริการ หรือประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน การใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม การกีดกันทางเพศ เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบที่ไม่ดีกลับมายังการทำธุรกิจ ที่บริษัทจดทะเบียนต้องเตรียมรับมือและบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ดังนั้น ในกลุ่มหลักสูตรเจาะประเด็นฯ นี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทยอยจัดทำหลักสูตรใหม่ๆ ออกมาให้บริการเป็นระยะ ดังนี้
🔶 Guidance on Modern Slavery Risks for Thai Businesses
คู่มือความเสี่ยงด้านการใช้แรงงานทาสยุคใหม่สำหรับธุรกิจไทย ทั้งฉบับภาษาไทย [Click] และภาษาอังกฤษ [Click]
: เครื่องมือบริหารความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน ประกอบด้วย “คู่มือความเสี่ยงด้านการใช้แรงงานทาสยุคใหม่สำหรับธุรกิจไทย”(Guidance on Modern Slavery Risks for Thai Businesses) และ Modern Slavery Benchmarking Tool [Click] สำหรับบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ผู้ประกอบการ และผู้สนใจ ใช้บริหารความเสี่ยงตามลักษณะของธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรม ช่วยลดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน สร้างการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ยกระดับความเชื่อมั่นต่อธุรกิจไทยในเวทีโลก
🔶 Children's Rights for Corporate Sustainability [Click]
: หลักสูตรการเรียนรู้เพื่อบูรณาการประเด็นด้านสิทธิเด็กที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงมุมมองผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจมีต่อความยั่งยืนขององค์กร หลักสูตรนี้ผู้เรียนจะได้ทดลองลงมือปฏิบัติจริงในรูปแบบ Workshop
🔶 Climate Change และการคำนวณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
: หลักสูตรในรูปแบบ Workshop [Coming soon สามารถติดตามความคืบหน้าได้ที่ page นี้ หรือที่ https://www.setsustainability.com/trainings]
🔶 ธุรกิจกับการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Business and Human Rights Due Diligence)
: หลักสูตรในรูปแบบ Workshop [Coming soon สามารถติดตามความคืบหน้าได้ที่ page นี้ หรือที่ https://www.setsustainability.com/trainings]
หลักสูตรเชิงลึก (In-depth Aspect) ด้านการเปิดเผยข้อมูล
🔶 การรายงานความยั่งยืนตามกลุ่มอุตสาหกรรม [Click]
: หลักสูตรการเรียนรู้กระบวนการจัดทำรายงานความยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ และลงมือปฏิบัติจริงในรูปแบบ Workshop เพื่อให้สามารถรายงานได้อย่างสอดคล้องกับคู่มือการรายงานความยั่งยืนสำหรับบริษัทจดทะเบียน หรือ Sustainability Reporting Guide ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะเผยแพร่ต่อไป ซึ่งคู่มือนี้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับแบบ 56-1 One Report ของสำนักงาน ก.ล.ต. และในขณะเดียวกันก็สามารถสอดรับกับมาตรฐานการรายงานในระดับสากล
🔶 TCFD & SDGS for Beginners [Click]
: เป็นหลักสูตรพื้นฐานเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล ESG ที่เกี่ยวข้องกับ Climate Change ตามแนวทางของ TCFD ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของ GRI, CDP และ SDGs สามารถเรียนแบบ On-line e-Learning ผ่านทาง YouTube
🔶 TCFD & SDGS Advanced [Click]
: เป็นหลักสูตรเชิงลึกที่ต่อเนื่องจาก TCFD & SDGs Beginners เพื่อการเปิดเผยข้อมูล ESG ที่เกี่ยวข้องกับ Climate Change ตามแนวทางของ TCFD ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของ GRI, CDP และ SDGs เช่นเดียวกัน สามารถเรียนแบบ On-line e-Learning ผ่านทาง YouTube
🔶 TCFD & SDGS Advanced - ESG Risk Analysis and GHG Accounting [Click]
: เป็นอีกหลักสูตรเชิงลึกที่ต่อเนื่องจาก TCFD & SDGs Beginners และ TCFD & SDGS Advanced ที่เน้นการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงด้าน ESG และการคำนวณก๊าซเรือนกระจก เพื่อรายงานผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน สามารถเรียนแบบ On-line e-Learning ผ่านทาง YouTube
🔶 TCFD & SDGS Advanced - TCFD in Finance [Click]
: เป็นอีกหลักสูตรเชิงลึก ที่เน้นการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงด้าน ESG และการคำนวณก๊าซเรือนกระจก เพื่อรายงานผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของธุรกิจในการบริหารจัดการ Climate Risk และการกำหนดแนวทางกำกับดูแล กลยุทธ์ ตัวชี้วัดและเป้าหมายในการรับมือกับ Climate Change ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลประกอบการทางการเงินของธุรกิจ และมีผลต่อการตัดสินใจของสถาบันการเงินการลงทุนที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก สามารถเรียนแบบ On-line e-Learning ผ่านทาง YouTube
เครื่องมือสนับสนุนบริษัทจดทะเบียนเข้าสู่ดัชนีชี้วัดระดับสากล
ปัจจุบันผู้ลงทุนสถาบันชั้นนำรวมถึงนักลงทุนยุคใหม่ทั้งในและต่างประเทศ ต่างให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างยั่งยืน (Sustainable Investment) ที่ตระหนักถึงทั้งผลประกอบการทางการเงิน และผลการดำเนินงานด้าน ESG มากขึ้นเรื่อยๆ จนมูลค่าการลงทุนอย่างยั่งยืนเติบโตอย่างก้าวกระโดด และมีความต้องการของผู้ลงทุนให้ธุรกิจเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้าน ESG อย่างโปร่งใสเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น นอกจากนี้ดัชนีการลงทุนที่ยั่งยืนระดับสากลชั้นนำของโลก ก็ยังประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อคัดเลือกเข้าสู่ดัชนีของตนเอง ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงมีหลักสูตรและชุดความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบริษัทจดทะเบียนไทย เพื่อพัฒนาตนเองเข้าสู่มาตรฐานความยั่งยืนในระดับสากล ดังนี้
🔶 รู้จักดัชนีชี้วัดความยั่งยืนระดับสากล [Sustainability Index] [Click]
: เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเรียนรู้ภาพรวของดัชนีชี้วัดความยั่งยืนระดับสากลว่าคืออะไร ปัจจุบันมีผู้จัดทำดัชนีชี้วัดความยั่งยืน (Index Provider) ชั้นนำที่ได้รับความนิยมและยอมรับจากผู้ลงทุนรายใดบ้าง เกณฑ์การคัดเลือกหรือประเมินหุ้นเป็นอย่างไร
🔶 S&P Global CSA Training (Beginner) for DJSI and S&P ESG Index [Click]
: หลักสูตรพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่เพิ่งเข้าสู่ Invitation List ของ S&P Global เป็นครั้งแรก เนื้อหาหลักสูตรจะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจ และการเตรียมตัวตอบแบบประเมินความยั่งยืนสากล (Corporate Sustainability Assessment: CSA) ของ S&P Global เพื่อสร้างโอกาสที่จะได้การคัดเลือกเข้าสู่สมาชิก DJSI และ S&P ESG Index
🔶 S&P Global CSA Methodology Updates Webinar [Click]
: หลักสูตรเพื่อ update กระบวนการประเมินความยั่งยืน (CSA) และข้อคำถามของการประเมินที่มีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้าของ S&P Global โดยจัดขึ้นสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ใน Invitation List หรืออยู่ใน DJSI และ S&P ESG Index อยู่แล้ว
ท่านสามารถติดต่อสอบถามและขอใช้บริการได้ที่ อีเมล SRcenter@set.or.th
🎯 ข้อมูลเพิ่มเติม Sustainable Business Development Roadmap [Click รูปเพื่อไปยังขั้นตอนอื่นๆ]