Topic

Sustainable Business Development Roadmap: Step 2 ขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืน

โลกปัจจุบันที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นส่งผลให้การทำธุรกิจในยุคนี้ไม่สามารถให้ความสำคัญกับเพียงแค่ตัวเลข “กำไร” ที่บรรทัดสุดท้ายในงบการเงินเพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป หากแต่ธุรกิจต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อาทิ ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม ของธุรกิจด้วย ธุรกิจยุคใหม่จึงหันมาให้ความสำคัญและร่วมดูแลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องบนความรับผิดชอบในวงกว้าง เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแรงให้แก่องค์กรและการเติบโตได้ในระยะยาว

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงได้ออกแบบชุดเส้นทางของการเป็นธุรกิจยั่งยืน หรือ Sustainable Business ที่เรียกว่า "Sustainable Business Development Roadmap" สำหรับธุรกิจขึ้นมา ซึ่งการเดินทางของธุรกิจในเส้นทางนี้จะประกอบด้วย 4 ขั้นตอน เริ่มจาก (1) การวางรากฐานความยั่งยืน ต่อด้วย (2) การขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืน (3) การพัฒนาต่อยอด และ (4) การมุ่งสู่ธุรกิจยั่งยืน

บริษัทจดทะเบียนที่ได้มีการเริ่มการวางรากฐานความยั่งยืน ในขั้นตอนที่ 1 ให้กับธุรกิจด้วยการกำกับดูแลกิจการที่ดีขององค์กร การมีระบบบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดเป้าหมายธุรกิจยั่งยืน และการมีทีมงานที่มุ่งสู่เป้าหมายความยั่งยืนร่วมกัน จนมีความแข็งแรงในระดับหนึ่งแล้ว ขั้นตอนถัดไปของ Sustainability Development Roadmap ก็คือ ...

ขั้นตอนที่ 2 การขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืน

ในขั้นตอนที่ 2 นี้ บริษัทต้องเริ่มบริหารจัดการประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของธุรกิจ อย่างครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ (Economic) มิติสิ่งแวดล้อม (Environmental) มิติสังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance) หรือ "ESG" เนื่องจากประเด็นเหล่านี้อาจสามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจได้ ทั้งผลกระทบทางลบซึ่งต้องหาทางจัดการ หรือผลกระทบทางบวกที่เป็นโอกาสทางธุรกิจ นอกจากนี้ บริษัทต้องมีความชัดเจนในการกำหนดนโยบาย และจัดทำกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนกำหนดเป้าหมายและลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการและทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแรงต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทยังต้องสร้างการมีส่วนร่วมและความเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของธุรกิจซึ่งเป็นเจ้าของประเด็นสำคัญข้างต้นอีกด้วย

ในขั้นตอนที่ 2 "การขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืน" ตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมให้บริการต่อบริษัทจดทะเบียนดังต่อไปนี้ 

4 เครื่องมือสำคัญ ที่ควรเรียนรู้เพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน

บริษัทจดทะเบียนสามารถเรียนรู้และใช้เครื่องมือต่อไปนี้ได้ด้วยตัวเอง เพื่อเข้าสู่การดำเนินงานในขั้นตอนของการขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืน

🔶 กระบวนการบริหารจัดการและขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน (Sustainability Management Process) [Click]
: เป็นข้อมูลเบื้องต้นชิ้นแรก ที่บริษัทต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจถึงภาพรวมและหลักการของเรื่องนี้ เพื่อจะได้ทราบว่าจะต้องทำในเรื่องใดบ้างเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องยั่งยืน รวมถึงสามารถบูรณาการไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจปกติ 

🔶 การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย และการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Stakeholder Engagement & Materiality Analysis) [Click]
:
เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเรียรู้ภาพรวมและความจำเป็นของการให้ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่า มีโอกาสเชื่อมโยงและมีส่วนร่วมกับองค์กร ซึ่งจะช่วยให้เห็นความสอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินงานขององค์กร รวมถึงการวิเคราะห์และประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนทางธุรกิจ ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่บริษัทต้องดำเนินการใน Sustainability Management Process อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อันจะนำมาซึ่งการเข้าใจความคาดหวัง หรือประเด็นที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสนใจ ที่อาจมีผลกระทบต่อการเติบโตที่ยังยืนของธุรกิจ อีกทั้งประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนยังจำเป็นสำหรับการกำหนดแผนงานและกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนอีกด้วย

🔶 Materiality Assessment Application [Click]
:
เป็นเครื่องมือในรูแบบ web based application ที่ใช้สำหรับช่วยวิเคราะห์และประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนทางธุรกิจ (Materiality Matrix Analysis)
และการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร  [Click คู่มือการใช้งาน Materiality Assessment Application]

🔶 SET Sustainability Reporting Guidelines [Coming Soon]
: เป็นเครื่องมือสำหรับจัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนตามตัวชี้วัดพื้นฐานหลักที่สำคัญด้านเศรษฐกิจและ ESG

หลักสูตรรูปแบบ Workshop เน้นลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างกลยุทธ์ความยั่งยืน

นอกจากเครื่องมือที่เรียนรู้ด้วยตัวเองข้างต้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอแนะนำ 2 หลักสูตร Workshop สำคัญที่เป็นประโยชน์อย่างมากในทางปฏิบัติ สำหรับการลงมือขับเคลื่อนความยั่งยืนแบบองคาพยพทั้งองค์กรที่ไม่ใช่เป็นเป็นของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง Workshop เหล่านี้ให้เปิดโอกาสให้บริษัทจดทะเบียนมีส่วนร่วมทดลองปฏิบัติจริง โดยมีวิทยากรมากประสบการณ์ของด้านนี้ ซึ่งร่วมงานจัดอบรมและ Workshop กับตลาดหลักทรัพย์ฯ มากว่า 10 ปี รวมทั้งวิทยากรจากที่บริษัทปรึกษาชั้นนำอีกด้วย

🔶 ชุดหลักสูตรกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของธุรกิจ (Corporate Sustainable Strategy) [Click]
:
เป็นหลักสูตรในรูปแบบ Workshop ที่เน้นความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในบริษัท ซึ่งเน้นผลลัพธ์สุดท้ายให้ได้มาซึ่งร่างกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของธุรกิจของแต่ละบริษัทที่เข้าร่วม โดย Workshop นี้เป็นการเรียนแบบต่อเนื่องด้วยหลักสูตรย่อยประมาณ 3 หลักสูตร ตั้งแต่การการทำความเข้าใจบริบทธุรกิจตนเองและการกำหนด Commitment ด้านความยั่งยืนขององค์กร การเข้าใจห่วงโซ่คุณค่าเพื่อระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน รวมถึงการกำหนดกรอบการพัฒนาความยั่งยืน และการกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่สอดประสานกับกลยุทธ์ธุรกิจในระยะสั้นและระยะยาว

🔶 การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน (Sustainable Supply Chain Management) [Click]
: เป็นสูตรในรูปแบบ Workshop เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทาน และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจว่าในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจที่มีคู่ค้าเป็นแกนหลักสำคัญ จะได้รับการตรวจทานความเสี่ยง มีการตรวจทานประเด็นด้าน ESG มีระบบที่ดีในการดูแล ตลอดจนได้รับการพัฒนาและสร้างความร่วมมือเพื่อที่จะเป็นฐานที่แข็งแรงเติบโตไปพร้อมกับองค์กร

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลหลักสูตรด้านความยั่งยืนทั้งหมดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ที่ https://www.setsustainability.com/trainings หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล SRcenter@set.or.th

🔶 โครงการ Sustainable Development Journey
:
สำหรับบริษัทจดทะเบียนซึ่งมีความมุ่งมั่นด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจ และต้องการให้การขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากการเรียนรู้ด้วยตนเองแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมี
บริการให้คำปรึกษาเชิงลึก โดยเน้นสร้างความเข้าใจ และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังในการระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน เพื่อเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการจัดทำกลยุทธ์และแผนงานด้านความยั่งยืน รวมถึงการเปิดเผยและรายงานผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

บริการนี้รับจำนวนจำกัดในแต่ละปี และบริษัทจดทะเบียนที่สนใจสมัครเข้ามา ต้องมีคุณสมบัติตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ โทรศัพท์ 0 2009 9875 หรืออีเมล SustainableDevelopmentDepartment2@set.or.th

ทั้งนี้ที่ผ่านมา มีบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งเข้าร่วมโครงการ จนเกิดพัฒนาการและลงมือปฏิบัติ จนมีผลงานจริงเป็นที่ปรากฏ ดังนี้ [Click รูปเพื่อรับชม VDO Clip]

 

การเตรียมพร้อมเข้าสู่การประเมินความยั่งยืน เพื่อสะท้อนความสามารถขับเคลื่อนความยั่งยืน

ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการจัดทำ Thailand Sustainability Investment (THSI) หรือ รายชื่อหุ้นยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนมาตั้งแต่ปี 2558 โดยหุ้นที่อยู่ใน THSI ถือได้ว่ามีศักยภาพของการนำความยั่งยืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ มีการเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น (Emerging risks) มีการจัดการประเด็น ESG ต่างๆ ชัดเจน เพื่อแสดงถึงความสามารถในการสร้างโอกาสทางธุรกิจและความพร้อมรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global trends) อีกทั้งทำให้บริษัทเป็นที่สนใจของผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมให้การสนับสนุนการร่วมประเมินความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนด้วยบริการต่อไปนี้

🔶 หุ้นยั่งยืน - Thailand Sustainability Investment (THSI) [Click]
:
เป็นข้อมูลเบื้องต้นชิ้นแรกเพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ THSI อาทิ ภาพรวม VDO Clip แนะนำหุ้นยั่งยืน ประโยชน์ของการร่วมประเมิน ขั้นตอนการประเมิน เกณฑ์และคู่มือ รายชื่อบริษํทจดทะเบียนใน THSI ตัวอย่างบริษัทจดทะเบียนที่เป็น Showcases ของ THSI ตลอดจนช่องทางสมัคร และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

🔶 เรียนรู้และทำความเข้าใจแบบประเมินความยั่งยืน THSI [Click] 
:
เป็นหลักสูตรที่เหมาะสำหรับบริษัทจดทะเบียนมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มประเมิน THSI เป็นครั้งแรก หรือที่เคยร่วมการประเมินแล้วและต้องการทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินและข้อคำถามต่างๆ ในแบบประเมิน โดยเนื้อหาหลักสูตรกล่าวถึงการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าประเมิน THSI กระบวนการประเมินเพื่อคัดเลือกหุ้น THSI รวมถึงรางวัล SET Awards กลุ่ม Sustainability Excellence หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาคัดเลือกหุ้นยั่งยืน มีการเจาะลึกข้อคำถามของแบบประเมินในเชิงลึกของแต่ละหมวด ท่านสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองแบบออนไลน์ผ่านระบบ e-Learning ได้ทั้งช่องทางของ YouTube และระบบ SET e-Learning

🔶 THSI Exclusive Coaching [Click หลักสูตรปีล่าสุด]
:
เป็นกิจกรรม บรรยายกึ่ง Coaching ที่เหมาะสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่เคยเข้าร่วมประเมิน THSI มาแล้ว โดยเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของ THSI จากปีก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการ หลักเกณฑ์ และข้อคำถามที่ใช้ในการประเมิน (คำถามทั่วไปและคำถามเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม) เน้นเตรียมความพร้อมให้กับการเข้าร่วมการประเมินของปีปัจจุบัน ท่านสามารถศึกษาข้อมูลของหลักสูตรนี้ในแต่ละปีได้ที่ https://www.setsustainability.com/trainings หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล SRcenter@set.or.th

🔶 THSI one-on-one Coaching
:
เป็นบริการให้คำปรึกษา
แบบรายบริษัทสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่เข้าร่วมประเมิน THSI เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานด้านความยั่งยืน พร้อมให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติและการเปิดเผยข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการตอบแบบประเมินในปีต่อๆ ไป ท่านสามารถติดต่อสอบถามและขอใช้บริการได้ที่ อีเมล SRcenter@set.or.th

 

🎯 ข้อมูลเพิ่มเติม Sustainable Business Development Roadmap [Click รูปเพื่อไปยังขั้นตอนอื่นๆ]