Topic
Sustainable Business Development Roadmap: Step 1 วางรากฐานความยั่งยืน
โลกปัจจุบันที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นส่งผลให้การทำธุรกิจในยุคนี้ไม่สามารถให้ความสำคัญกับเพียงแค่ตัวเลข “กำไร” ที่บรรทัดสุดท้ายในงบการเงินเพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป หากแต่ธุรกิจต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อาทิ ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม ของธุรกิจด้วย ธุรกิจยุคใหม่จึงหันมาให้ความสำคัญและร่วมดูแลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องบนความรับผิดชอบในวงกว้าง เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแรงให้แก่องค์กรและการเติบโตได้ในระยะยาว
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงได้ออกแบบชุดเส้นทางของการเป็นธุรกิจยั่งยืน หรือ Sustainable Business ที่เรียกว่า "Sustainable Business Development Roadmap" สำหรับธุรกิจขึ้นมา ซึ่งการเดินทางของธุรกิจในเส้นทางนี้จะประกอบด้วย 4 ขั้นตอน เริ่มจาก (1) การวางรากฐานความยั่งยืน ต่อด้วย (2) การขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืน (3) การพัฒนาต่อยอด และ (4) การมุ่งสู่ธุรกิจยั่งยืน
ขั้นตอนแรก การวางรากฐานความยั่งยืน
เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับองค์กรที่ต้องเริ่มนำหลักการ 3 ด้านของความยั่งยืนคือ ESG (สิ่งแวดล้อม-Environmental สังคม-Social บรรษัทภิบาล-Governance) ไปเป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติในการทำธุรกิจอย่างประณีตตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) อย่างยั่งยืนและสมดุล โดยเรียนรู้เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและหลักการทำธุรกิจให้อยู่รอด มีการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดเป้าหมายธุรกิจยั่งยืน และการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ทีมงานตลอดจนพนักงานทั้งองค์กร เพื่อความร่วมมือร่วมใจขับเคลื่อนมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน
ในแต่ละขั้นตอนระหว่างเส้นทางของ Sustainable Business Development Roadmap ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยินดีส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียน ด้วยบริการของชุดความรู้ คู่มือและเครื่องมือด้านการพัฒนาต่างๆ สำหรับนำไปใช้ในการปฎิบัติงานจริง อาทิ หลักสูตรอบรม คู่มือการทำงาน วิดิโอคลิป checklist และการพบปะพูดคุยให้คำปรึกษาเชิงลึกในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น โดยในขั้นตอนแรกของการ "วางรากฐานความยั่งยืน" ตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมให้บริการดังต่อไปนี้
บริการเข้าพบบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับการวางรากฐานธุรกิจที่ยั่งยืน
สำหรับบริษัทที่เพิ่งเข้าจดทะเบียนหรือเริ่มสนใจเรื่องความยั่งยืน คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงอาจต้องการเห็นวิสัยทัศน์ในเรื่องนี้ของตลาดทุน นอกจากนี้ ด้วย "การกำกับดูแลกิจการที่ดี" หรือ "Corporate Governance (CG)" เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงมีบริการพบปะกับบริษัทจดทะเบียนเป็นรายบริษัท ทั้งในรายของบริษัทจดทะเบียนที่เข้าใหม่ และบริษัทจดทะเบียนที่สนใจ การพบปะนี้จะนำทีมโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านความยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับของตลาดทุน เพื่อร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะให้แก่คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียน เกี่ยวกับแนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน รวมถึงทีมงานที่พร้อมแนะนำเครื่องมือที่จะช่วยให้การดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บริการนี้แบ่งเป็น 2 ด้าน
🔶 ด้านแรก การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน แก่คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงบริษัท โดยผู้เชี่ยวชาญของตลาดหลักทรัพย์ฯ ท่านสามารถติดต่อสอบถามและขอใช้บริการได้ที่ โทรศัพท์ 0 2009 9872 หรืออีเมล SustainableDevelopmentDepartment2@set.or.th
🔶 ด้านที่สอง การให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ของฝ่ายจัดการและเลขานุการของบริษัทจดทะเบียน ท่านสามารถติดต่อสอบถามและขอใช้บริการได้ที่ เจ้าหน้าที่ Relationship Manager (RM) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ดูแลบริษัทท่าน
5 เครื่องมือเบื้องต้น สำหรับการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนใหม่
บริษัทจดทะเบียนน้องใหม่ที่สนใจและกำลังเริ่มขับเคลื่อนความยั่งยืนองค์กร สามารถเรียนรู้และใช้เครื่องมือเกี่ยวกับ ESG ดังต่อไปนี้ในระยะเริ่มต้นได้ด้วยตนเอง
🔶 ESG Health Check [Click]
: แบบทดสอบสถานะด้าน ESG ของธุรกิจแบบง่ายๆ ที่สามารถลองทำด้วยตนเอง ซึ่งเหมาะสำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ผลทดสอบจะช่วยสะท้อนสถานะการปฏิบัติด้าน ESG ในเบื้องต้นในการบริหารจัดการองค์กรสู่ความยั่งยืน บริษัทสามารถนำผลทดสอบมาหารือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้คำแนะนำการทำงานในลำดับต่อไปได้
🔶 คู่มือพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืนสำหรับบริษัทจดทะเบียน (Corporate Sustainability Guide for Listed Companies) [Click]
: เป็นคู่มือที่ให้ความรู้พื้นฐาน และช่วยให้เข้าใจภาพรวมทั้งหมดเกี่ยวกับการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจ ตั้งแต่ความหมาย ความจำเป็น หลักการ กระบวนการลงมือปฏิบัติตั้งแต่การกำหนดนโยบาย วางกลยุทธ์ และจัดทำแผนการดำเนินงาน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน
🔶 VDO Clip การกำกับดูแลกิจการที่ดีสู่ความยั่งยืน [Click]
: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญอันดับแรกที่ต้องมีของบริษัทจดทะเบียน โดยเนื้อหาครอบครอบคลุมการหน้าที่ของคณะกรรมการ ตลอดจนแนวทางการนำไปปฏิบัติจริง
🔶 แนวปฏิบัติสำคัญ: ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี [Click]
: ภายหลังรับชม VDO Clip ข้างต้นแล้ว ยังมีชุดแนวปฏิบัติด้านต่างๆ ที่สำคัญในการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่สามารถศึกษาเพื่อไปใช้งานในวาระต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้
🔶 ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (ESG Risk) [Click]
: เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ที่นอกเหนือจากความเสี่ยงทางธุรกิจตามปกติ และบริษัทไม่เคยคำนึงถึงมาก่อน แต่มาวันนี้เป็นเรื่องที่บริษัทจดทะเบียนจำเป็นต้องต้องบูรณาการ ESG Risks เข้าไปด้วยแล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
6 VDO Clip ชุด Sustainability DNA for Employees
การขับเคลื่อนความยั่งยืนต้องอาศัยความรู้ ความเข้า และความร่วมมือร่วใจจากพนักงานทุกคน VDO clip 6 ชุดความรู้นี้ จะช่วยให้พนักงานในบริษัทตระหนักว่าความยั่งยืนคืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานในแต่ละวัน (Daily operation) หากทำแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร อีกทั้งจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานมาร่วมกันสร้าง DNA ความยั่งยืน ที่ทำได้ทุกฝ่ายงาน และเริ่มต้นง่ายๆ ในทุกวันของการทำงาน
🔶 ปลูกฝังการทำงานอย่างมี CG ได้อย่างไร [Click]
🔶 ร่วมคิดและใช้ทรัพยากรในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร [Click]
🔶 ทำอย่างไรจะช่วยคู่ค้าให้เติบโตไปพร้อมกับเรา [Click]
🔶 สร้างสรรค์สินค้าและบริการอย่างรับผิดชอบ ช่วยธุรกิจได้อย่างไร [Click]
🔶 ดูแลและพัฒนาศักยภาพพนักงาน สร้างรากฐานที่มั่นคงให้ธุรกิจอย่างไร [Click]
🔶 สุขภาวะและความปลอดภัยในที่ทำงาน ช่วยให้ธุรกิจยั่งยืนได้อย่างไร [Click]
4 หลักสูตร พื้นฐานด้านการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ผ่านระบบออนไลน์แบบ e-Learning
นอกจากเครื่องมือเรียนรู้ด้วยตนเองข้างต้น ยังมีหลักสูตรแบบออนไลน์ผ่านระบบ e-Learning ที่เรียนได้ทั้งช่องทางของ YouTube และระบบ SET e-Learning ของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเนื้อหาเริ่มเข้าสู่เรื่องกระบวนการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรโดยตรง โดยควรเรียนแบบต่อเนื่องจนจบทั้ง 4 หลักสูตร ตั้งแต่การภาพรวมของแนวคิด การทำความเข้าใจบริบทองค์กรของตนเอง การรู้จักและเข้าใจห่วงโซ่คุณค่าเพื่อค้นหาประเด็นสำคัญสำคัญด้านความยั่งยืนสำหรับนำไปพัฒนาเป็นกลยุทธ์ของธุรกิจในที่สุด [Click หลักสูตร e-Learning ทั้งหมด]
🔶 หลักสูตรพื้นฐานด้านความยั่งยืนของธุรกิจ (Preliminary to Corporate Sustainability : P01) [Click]
🔶 หลักสูตรการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของธุรกิจ (Sustainability Commitment : S01) [Click]
🔶 หลักสูตรการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าและประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Value Chain and Materiality Analysis : S02) [Click]
🔶 หลักสูตรการกำหนดกลยุทธ์และวิธีการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร (Sustainability strategy and Initiative :S03) [Click]
หลักสูตร การเตรียมพร้อมจัดทำ Sustainability Disclosure ตาม One Report ผ่านระบบออนไลน์แบบ e-Learning
บริษัทจดทะเบียนจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามเกณฑ์ที่กำหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1 One Report) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจัดทำหลักสูตรนี้เพื่อสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีคุณภาพ
🔶 การเตรียมพร้อมจัดทำ Sustainability Disclosure ตาม One Report (RE01) [Click ดูรายละเอียด] [Click เพื่อเรียน]
เครื่องมือพัฒนาและขับเคลื่อนการกำกับดูแลกิจการที่ดี
🔶 CGR Training [Click]
: เนื่องจากบริษัทจดทะเบียนทุกรายจะได้รับการประเมินเรื่องการเปิดเผยข้อมูลด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่เรียกว่า CGR (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies) จากสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เป็นประจำทุกปี ดังนั้น IOD จึงจัดอบรมออนไลน์เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่บริษัทจดทะเบียน เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประเมิน และแนวทางการเปิดเผยข้อมูลของขึ้น ซึ่งสามารถติดตามย้อนหลังได้
🔶 CGR Checklist [Click]
: เป็นรายการตรวจสอบระบบและโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสร้างมาตรฐานการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีจริยธรรม และช่วยให้บริษัทจดทะเบียนแสดงข้อมูลตามหลักเกณฑ์ Corporate Governance Report of Thai Listed Companies (CGR) ได้ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งบริษัทจดทะเบียนสามารถใช้ CGR Checklist นี้ทวนสอบความครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูล CG ได้เป็นอย่างดี
🔶 CGR One-on-One Advisory
: บริการให้คำปรึกษาบริษัทจดทะเบียนแบบรายบริษัท เกี่ยวกับเทคนิคการเขียน CGR ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการพัฒนาวิธีปฏิบัติที่สอดคล้องกับแนวทางการประเมินของ IOD ซึ่งจะสามารถช่วยให้บริษัทยกระดับคะแนน CGR ได้ในทางอ้อมอีกด้วย โดยท่านสามารถติดต่อสอบถามและขอใช้บริการได้ที่ โทรศัพท์ 0 2009 9872 หรืออีเมล SustainableDevelopmentDepartment2@set.or.th
🎯 ข้อมูลเพิ่มเติม Sustainable Business Development Roadmap [Click รูปเพื่อไปยังขั้นตอนอื่นๆ]