Topic

Carbon Footprint ตอนที่ 4

ในตอนนี้จะนำตัวอย่างบริษัทที่มีการวัด Carbon footprint baseline กำหนดเป้าหมายที่จะลด Carbon footprint ดังกล่าว รวมทั้งกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน ได้แก่ บริษัท Nestle โดยอ้างอิงจากเอกสารเผยแพร่ Nestle’s Net Zero Roadmap (March 2023) ซึ่งสามารถนำมาสรุปและนำเสนอเป็นบทความได้หลายตอนต่อจากนี้

1. Carbon footprint baseline และการกำหนดเป้าหมาย

ภายใต้กระแสการทำธุรกิจที่ต้องดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม หากธุรกิจใดที่ไม่สนใจและไม่ดำเนินการได้ดีพอจะกลายเป็นความเสี่ยงที่สำคัญของธุรกิจ ในฐานะที่เป็นบริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่มขนาดใหญ่ของโลก Nestle ตระหนักดีว่าตนเองมี Size, scale, influence ในการที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อลดภาวะโลกร้อน

จากข้อมูลและแผนงานที่จะได้กล่าวถึงต่อไปทำให้ Nestle กล้าที่จะประกาศว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) ลงไป 50% ภายในปี 2030 เทียบกับระดับ GHGs ที่ปล่อยไปในปี 2018 และประกาศให้บริษัทอยู่ในลักษณะ Net zero ภายในปี 2050 ซึ่งในการทำงานเพื่อลดระดับ Carbon footprint จะต้องทำให้เกิดขึ้นตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่คู่ค้าไปจนถึงลูกค้าและผู้บริโภค (รวมตลอด Upstream และ downstream)

การวัด Baseline ของการปล่อย Carbon footprint ในปี 2018 ทำให้ทราบว่า Nestle มีการปล่อย GHGs สูงถึง 92 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยมาจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้

  • การจัดหาวัตถุดิบ            65.6   ล้านตันCO2e
  • การผลิตสินค้า                   7.0   ล้านตันCO2e
  • การบรรจุหีบห่อ                 11.0  ล้านตัน CO2e
  • การขนส่ง                            7.5  ล้านตันCO2e
  • การเดินทางของพนักงาน    0.8  ล้านตันCO2e



ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว เกิดจากกระบวนการภายในของ Nestle เองเพียง 5% และเกิดจากภายนอก เช่น Suppliers และลูกค้ารวมกันถึง 95% โดยแสดงสัดส่วนได้ดังนี้

  • Scope1 : ปล่อย GHGs โดยตรง 3.0%
  • Scope2 : ปล่อย GHGs ทางอ้อม(บริษัท) 2.2%
  • Scope3 : ปล่อย GHGs ทางอ้อม(อื่น ๆ) 94.8%


จากระดับของ Carbon footprint baseline ดังกล่าว ทำให้ Nestle กำหนดเป้าหมายการลด Carbon footprint ลงดังนี้

  • ภายในปี 2025 จะลดระดับการปล่อย GHGs ลง 20% เมื่อเทียบกับ Carbon footprint baseline ปี 2018
  • ภายในปี 2030 จะลดระดับการปล่อย GHGs ลง 50% เมื่อเทียบกับ Carbon footprint baseline ปี 2018
  • ภายในปี 2050 จะบรรลุระดับ Net zero คือระดับการปล่อยและดูดกลับ GHGs หักล้างกันพอดี

2. Milestones สำหรับ Carbon footprint reduction 

  • วัตถุดิบจาก Suppliers ต้องมีลักษณะไม่ทำลายป่า หรือ Deforestation free 100% ภายในปี 2022
  • การใช้ยานพาหนะต้องมีลักษณะ Lower emission option ภายในปี 2022
  • การใช้วัตถุดิบประเภท Palm oil, cocoa, coffee ต้องได้รับ Sustainable certification 100% ภายในปี 2025
  • โรงงานทุกแห่งของ Nestle จะต้องใช้พลังงานจาก Renewable electricity 100% ภายในปี 2025
  • การบรรจุหีบห่อจะต้องใช้วัสดุ Recycle หรือ Reuse ทั้งหมด 100% ภายในปี 2025
  • วัตถุดิบทางการเกษตรที่ใช้เป็นส่วนผสมหลักไม่น้อยกว่า 20% จะต้องมาจากการเกษตรแบบ Regenerative agricultural methods ภายในปี 2025
  • ตัดการใช้ Virgin plastic ลง 1 ใน 3 ของปริมาณที่ใช้ทั้งหมดภายในปี 2025



ทั้งนี้เพื่อเร่งให้มีการขยายขนาด (Scaling up) ให้ได้ผล Nestle จำเป็นจะต้องลงทุนเพิ่มในเทคโนโลยีและโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Low carbon issues มากขึ้น เช่น

  • การใช้ Renewable thermal energy มากขึ้นในกระบวนการผลิต
  • โครงการปลูกต้นไม้ 200 ล้านต้น ภายในปี 2030
  • โครงการส่งเสริม Regenerative agricultural methods

 

ที่มา : Nestle’s Net Zero Roadmap, March 2023

บทความโดย
รศ.(พิเศษ)ดร.กฤษฎา เสกตระกูล
ที่ปรึกษา
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 
 
------------------------------------------

บทความที่เกี่ยวข้อง
 

Carbon Footprint ตอนที่ 1: วิธีการลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGS) Click

Carbon Footprint ตอนที่ 2: วิธีการต่าง ๆ ที่พยายามลด Carbon Footprint Click

Carbon Footprint ตอนที่ 3: การวัด Carbon Footprint Click

 

Carbon Footprint ตอนที่ 4: ตัวอย่างบริษัทที่มีการวัด Carbon footprint baseline Click

Carbon Footprint ตอนที่ 5: Key actions ของ Nestle Click

Carbon Footprint ตอนที่ 6: การจัดการดินและป่าไม้ของ Nestle Click

 

Carbon Footprint ตอนที่ 7: เป้าหมายในการลด Carbon footprint Click

Carbon Footprint ตอนที่ 8: กระบวนการที่เกี่ยวข้องของ Nestle Click

Coming Soon