Topic

Carbon Footprint ตอนที่ 6

บทความตอนนี้เป็น ตอนที่ 3 ที่ได้สรุปสาระสำคัญจากกรณีศึกษาบริษัท Nestle ในการกำหนดเป้าหมายและ Key actions ในการลด Carbon footprint จากเอกสารเผยแพร่ Nestle’s Net Zero Roadmap (March 2023) สำหรับในตอนนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการจัดการดินและป่าไม้เพื่อลด Carbon footprint

1. เป้าหมายการจัดการดินและป่าไม้
จากข้อมูลตาม Carbon footprint baseline พบว่า ในปี 2018 Nestle ได้ปล่อย GHGs อันเกียวเนื่องจากดินและป่าไม้ ประมาณ 25 ล้านตัน CO2e และตั้งเป้าว่าจะลดลงเหลือ 14.0 ล้านตัน CO2e
ผลิตภัณฑ์อาหารของ Nestle ที่ผลิตออกมาจะมีคุณภาพที่ดีได้ต้องมาจากวัตถุดิบที่ดี มีคุณภาพและมาจากกระบวนการปลูก เก็บเกี่ยว การขนส่งที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศน์ รวมทั้งช่วยลดปัญหาโลกร้อนด้วย จากข้อมูลของ Nestle พบว่า 27% ของ Carbon footprint ที่ปล่อยในปี 2018 เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบที่มาจากการเกษตร การลดการปล่อย GHGs ในเรื่องนี้ Nestle จึงต้องทำงานร่วมกับ เกษตรกรและคู่ค้าอย่างใกล้ชิด โดยประเด็นสำคัญที่ต้องทำการเกษตรแบบ Regenerative agricultural methods ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตเกษตรแบบ Regenerative agricultural ingredients แล้ว ยังต้องไม่ทำลายพื้นที่ป่าเพิ่มอีก (Deforestation) การปลูกต้นไม้เพิ่ม หรือทำการเกษตรแบบที่เรียกว่า Agroforestry

Nestle จึงต้องสนับสนุนให้เกษตรกรในเครือข่ายของบริษัท ผลิตในแนวทางนี้และเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสว่า ผลิตภัณฑ์มาจากแหล่งใดและมีวิธีการผลิตอย่างไร

2. Key actions การจัดการดินและป่าไม้

2.1) ปรับปรุงสุขภาพของดิน (Improving soil health)
การปรับปรุงสุขภาพดิน จะช่วยเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร ผ่านการดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลดินในทุกขั้นตอน เช่น การหว่านไถ การเก็บเกี่ยว การเพาะปลูกได้หลายรอบ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น ทำให้ดินได้รับความอุดมสมบูรณ์ตลอดการเพาะปลูก นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการจัดการขยะของเสียจากการทำการเกษตรด้วย

2.2) การทำการเกษตรร่วมบนพื้นที่ป่า (Agroforestry in boder areas)
พื้นที่การเกษตรจำนวนมากที่อยู่ชิดหรือรุกล้ำพื้นที่ป่าซึ่งสามารถหาวิธีการสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยรักษาป่าหรือช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าไปในตัว 

2.3) การปฏิรูปการใช้ที่ดินให้มีประสิทธิภาพ (Preventing and remediating land use change)
การใช้ที่ดินให้เกิดประสิทธิภาพ สามารถออกแบบทั้งให้มีการผลิตแบบ Regenerative agricultural methods บนพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยลดการปล่อย GHGs ได้อย่างเข้มข้นมากกว่าเดิม

Nestle คาดการณ์ว่าภายในปี 2030 การปล่อย GHGs จากในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาสุขภาพของดินจะลดลง 44% เมื่อเทียบกับ Baseline ในปี 2018 ซึ่งในส่วนนี้ถือเป็นการปล่อยแบบ Scope 3 ของ Nestle ที่จะถูกแก้ไขให้ลดปัญหาลง

จากเป้าหมายที่จะลด Carbon footprint อันสืบเนื่องจากปัญหาเรื่องดินและป่าไม้ จากระดับ 34.0 ล้านตัน CO2e ในปี 2018 เป็น 14 ล้านตัน CO2e ในปี 2030 หรือลดลง 23 ล้านตัน CO2e Nestle กำหนดเป้าหมายย่อยว่ามาจาก

  • การป้องกันวัตถุดิบที่มาจากการทำลายป่าของ Suppliers ให้ลดลง 8.0 ล้านตัน CO2e
  • การส่งเสริมการทำฟาร์มเกษตรแบบ Agroforestry ที่มีการปลูกต้นไม้ไปพร้อมกับการปลูกพืช ให้ได้ผลดีพร้อมกันไปด้วยซึ่งคาดว่าจะช่วยลด GHGs ลงได้ 5.0 ล้านตัน CO2e
  • การปรับปรุงและส่งเสริมให้ทำการเกษตรแบบ Regenerative agricultural methods ซึ่งจะมีทั้งการปรับปรุงดิน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น คาดว่าจะช่วยลด Carbon footprint ลงได้ 5.0 ล้านตัน CO2e
  • การส่งเสริมให้เกิด Agroforestry farm คาดว่าจะช่วยลด Carbon footprint ลงได้ 2.0 ล้านตัน CO2e
  • การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมและแหล่งชุ่มน้ำ คาดว่าจะช่วยลด GHGs ลงได้ 2.0 ล้านตัน CO2e
  • ติดตั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อดักจับก๊าซมีเทนในกระบวนการผลิตของโรงงานน้ำมันปาล์ม เป็นต้น คาดว่าจะช่วยลด Carbon footprint ลงได้ 1.0 ล้านตัน CO2e

 

ที่มา : Nestle’s Net Zero Roadmap, March 2023

บทความโดย
รศ.(พิเศษ)ดร.กฤษฎา เสกตระกูล
ที่ปรึกษา
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 
 
------------------------------------------

บทความที่เกี่ยวข้อง
 

Carbon Footprint ตอนที่ 1: วิธีการลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGS) Click

Carbon Footprint ตอนที่ 2: วิธีการต่าง ๆ ที่พยายามลด Carbon Footprint Click

Carbon Footprint ตอนที่ 3: การวัด Carbon Footprint Click

 

Carbon Footprint ตอนที่ 4: ตัวอย่างบริษัทที่มีการวัด Carbon footprint baseline Click

Carbon Footprint ตอนที่ 5: Key actions ของ Nestle Click

Carbon Footprint ตอนที่ 6: การจัดการดินและป่าไม้ของ Nestle Click

 

Coming Soon