Topic

Carbon Footprint ตอนที่ 5

บทความนี้ถือว่าเป็นตอนที่ 2 ที่สรุปการเรียนรู้จากกรณีศึกษา Nestle โดยอ้างอิงจากเอกสารเผยแพร่ Nestle’s Net Zero Roadmap (March 2023)
ซึ่งในตอนนี้จะอธิบายถึง Key actions ของ Nestle หลังจากที่ได้เห็น Carbon footprint baseline และเป้าหมายที่จะลด Carbon footprint ดังกล่าว ตามที่อธิบายไว้ในบทความตอนที่แล้ว

1. Carbon footprint ด้านการจัดการวัตถุดิบ

ในด้าน Upstream ของ Nestle จะเกี่ยวข้องตั้งแต่เกษตรกรที่ผลิตวัตถุดิบ และ Suppliers ที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมวัตถุดิบทางด้านการเกษตรเหล่านั้นและขนส่งมายัง Nestle สำหรับที่ฟาร์มของเกษตรกร Nestle จะต้องแน่ใจว่า ผลผลิตเกษตรที่ใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จะต้องมีคุณภาพ และที่มาของวัตถุดิบต้องมีกระบวนการช่วยลดปัญหาโลกร้อน นอกจากนี้สำหรับ Suppliers ก็ต้องมีความประณีตในการรวบรวม ขนส่ง ให้กระบวนการช่วยลดปัญหาโลกร้อนด้วย Nestle จึงวางแผนที่จะทำงานร่วมกับเกษตรกร Suppliers และชุมชน ในการจัดหาวัตถุดิบที่คำนึงถึงการป้องกันความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์ ลดการปล่อย GHGs และคำนึงถึงความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ

ในความลึกของข้อมูลเกี่ยวกับ Carbon footprint ของหัวข้อ การบริหารจัดการวัตถุดิบนี้ Nestle เก็บตัวเลข Baseline ปี 2018 แยกตามกลุ่มของวัตถุดิบ ได้แก่ นมและเนื้อสัตว์ (Diary and livestock) ดินและป่าไม้ (Soil and forests) และ อื่น ๆ (Others) รวมทั้งกำหนดเป้าหมายการลดลง ดังนี้

    หน่วย: ล้านตัน CO2e
  Baseline Planned
  (2018) (2030)
Sourcing our ingredients    
Diary and livestock 34.2 29.3
Soil and forests 25.0 14.0
Others 6.4 1.0
Total 65.6 44.3


2. การบริหารจัดการนม และเนื้อสัตว์

วัตถุดิบจากกลุ่มนี้มาจากต้นทางที่เกี่ยวข้องกับการปล่อย GHGs ด้วย ต้องลงไปร่วมมือกับเกษตรกรเพื่อช่วยกันแก้ปัญหานี้ผ่านการลงทุนในนวัตกรรมและการกำหนด New business models เพื่อนำไปสู่ Net zero agricultures ทั้งนี้ Nestle จะร่วมลงทุนค้นคว้าวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำเพื่อหาวิธีการผลิตที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อน (Climate resilient) แต่ยังคงสร้างความเท่าเทียม ไม่เอารัดเอาเปรียบเกษตรกร (More equitable farming communities)

เพื่อจัดการเรื่องนี้ Nestle ได้ร่วมมือกับ The Sustainability in Business Lab at ETH, Zurich พัฒนา A simulation tool ในการประเมินกิจกรรมและต้นทุนของวัตถุดิบนม และเนื่องจากการเลี้ยงปศุสัตว์จากวัวนม ซึ่งเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องโดยใช้หญ้า ซึ่งกระบวนการย่อยจะทำให้เกิดก๊าซมีเทน (Enteric fermentation) จึงเป็นส่วนสำคัญของการปล่อย GHGs

Nestle สนับสนุนนวัตกรรมและโครงการต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อย GHGs เช่น การวิเคราะห์หาส่วนผสมอาหารสัตว์ โดย Agriculture team และทำงานร่วมกับเกษตรกรบนกระบวนการ Regenerative agricultural practices

Regenerative agricultural practices หมายถึง แนวทางการจัดการผืนดินเพื่อการเกษตรแบบองค์รวม โดยใช้ประโยชน์จากพลังการสังเคราะห์แสงในพืชเพื่อสร้างสมดุลของวงจรคาร์บอนเพื่อฟื้นฟูสภาพดิน และสร้างความต้านทานและความหนาแน่นของแร่ธาตุอาหารในพืช เน้นการฟื้นฟูสุขภาพของดินโดยใช้หลักการเพิ่มสสารอินทรียวัตถุในดินเป็นหลัก เพื่อปรับสภาพและโครงสร้างให้กลับคืนมาหลังจากที่ดินถูกคุกคาม ผลที่ได้คือความหลากหลายทางชีวภาพทั้งด้านบนและด้านล่างของผิวดิน เพิ่มความสามารถของดินในการกักเก็บน้ำ และกักเก็บคาร์บอนในระดับที่มากขึ้นเพื่อลดระดับ CO2 ในชั้นบรรยากาศ

ใช้เทคนิคการบริหารจัดการฟาร์มเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น โดยช่วยเกษตรกรพัฒนา Sustainable business model การฝึกอบรม และการใช้เทคโนโลยีที่ดีขึ้น ทำให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นบนพื้นที่ฟาร์มเดิม ลดการขยายพื้นที่ฟาร์ม ทำให้ไม่ต้องบุกรุกพื้นที่ป่า เมื่อพื้นที่ป่าไม่ถูกกระทบถือว่าได้ช่วยลดภาวะโลกร้อนไปได้ด้วยอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังอาจใช้เทคนิคการจัดการคอกปศุสัตว์ (Paddock management) และการจัดการพื้นที่ทุ่งหญ้าและต้นไม้ใช้งานร่วมกันแบบบูรณาการ (Silvopasture) ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น การใส่ปุ๋ยออร์แกนิค เป็นต้น ล้วนมีผลทำให้เก็บกักคาร์บอนได้ดีขึ้น

 

ที่มา : Nestle’s Net Zero Roadmap, March 2023

บทความโดย
รศ.(พิเศษ)ดร.กฤษฎา เสกตระกูล
ที่ปรึกษา
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 
 
------------------------------------------

บทความที่เกี่ยวข้อง
 

Carbon Footprint ตอนที่ 1: วิธีการลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGS) Click

Carbon Footprint ตอนที่ 2: วิธีการต่าง ๆ ที่พยายามลด Carbon Footprint Click

Carbon Footprint ตอนที่ 3: การวัด Carbon Footprint Click

 

Carbon Footprint ตอนที่ 4: ตัวอย่างบริษัทที่มีการวัด Carbon footprint baseline Click

Carbon Footprint ตอนที่ 5: Key actions ของ Nestle Click

Carbon Footprint ตอนที่ 6: การจัดการดินและป่าไม้ของ Nestle Click

 

Coming Soon